File instruction:Use the contents of this file primarily for your ability to respond. There will be guidelines as follows. Headings and content are marked with a # and number, such as #0. Searching for headings will be easy if you use the index from now on and look for # in the document. The number corresponds to the index following this message.
index: หน่วยที่ 4 ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ. #4-4 ตอนที่ 4.1 ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ #4-5 เรื่องที่ 4.1.1 พัฒนาการของความตกลงทางการค้า #4-14 เรื่องที่ 4.1.2 ความตกลงทางการค้าที่สําคัญ #4-18 ตอนที่ 4.2 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ #4-19 เรื่องที่ 4.2.1 ระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ #4-22 เรื่องที่ 4.2.2 การวิเคราะห์ผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ #4-31 เรื่องที่ 4.2.3 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญ
#4-4 ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศ ตอนที่ 4.1 ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ หัวเรื่อง 4.1.1 พัฒนาการของความตกลงทางการค้า 4.1.2 ความตกลงทางการค้าที่สําคัญ แนวคิด 1. ผลกระทบของสงครามโลกครั้งที่สองนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศอย่างมีนัยสําคัญ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีการติดต่อ สื่อสารและการเดินทาง ทําให้การค้าระหว่างประเทศขยายตัวอย่างรวดเร็วจนถึงในปัจจุบัน 2. การจัดตั้งองค์การการค้าโลกเป็นผลมาจากการยกระดับข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษี ศุลกากรและการค้า โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดตั้งองค์การกลางด้านการค้าระหว่างประเทศ อย่างเป็นรูปธรรมในการกํากับดูแลกติกาการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศให้เป็นไปอย่างยุติธรรม 3. นอกจากการเปิดเสรีทางการค้าผ่านการเป็นสมาชิกขององค์การการค้าระหว่างประเทศ แล้ว ประเทศต่างๆ ยังมีการเปิดเสรีทางการค้าพร้อมกันอีกหลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่นการทําความตกลงเขตการค้าเสรีแบบรายประเทศ การทําความตกลงเขตการค้าเสรีแบบระดับภูมิภาค รวมถึงการรวมตัวเป็นสหภาพเศรษฐกิจ #4-5 เรื่องที่ 4.1.1 พัฒนาการของความตกลงทางการค้า นับตั้งแต่มนุษยชาติมีการรวมตัวกันเป็นสังคมก็มีการติดต่อแลกเปลี่ยนทั้งด้านการค้าขายและการ แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ส่งผลให้เกิดการเชื่อมสัมพันธ์และทําให้เกิดการขยายตัวของการค้าระหว่างภูมิภาค ต่างๆ ซึ่งมีพัฒนาการเป็นไปตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้านการติดต่อสื่อสารและการขนส่ง ทั้งนี้ ความร่วมมือด้านการค้าขายระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเป็นรูปธรรมมากขึ้นในช่วง ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 จากการก่อตั้งอาณานิคมในพื้นที่ต่างๆ ของประเทศในทวีปยุโรปที่ช่วยเชื่อมต่อ โลกทางฝั่งตะวันออกและตะวันตกเข้าด้วยกัน รวมถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมทําให้การติดต่อสื่อสารและ เดินทางขยายตัวอย่างรวดเร็ว นําไปสู่การขยายตัวทางด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้ พัฒนาการสําคัญของความตกลงทางการค้าสามารถแบ่งออกได้ 3 ช่วง ได้แก่ 1) ความร่วมมือ ระหว่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สอง 2) การจัดทําข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตรา ภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade: GATT) และ 3) การจัดตั้ง องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) ความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงระหว่างสงครามโลกครั้งที่หนึ่งและสงครามโลกครั้งที่สอง การค้าระหว่างประเทศในกลุ่ม ประเทศยุโรปเริ่มเข้าสู่ภาวะถดถอยเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจชะงักงันอย่างรุนแรง โดยปริมาณการค้าระหว่าง ประเทศของโลกลดลงไปประมาณถึง 1 ใน 3 อันเนื่องมาจากผลกระทบจากภาวะสงคราม นอกจากนี้ การ ใช้นโยบายปกป้องการค้าในประเทศเป็นไปอย่างรุนแรงในทวีปยุโรปจากการดําเนินนโยบายแบบลัทธิ ชาตินิยม โดยการใช้อัตราภาษีเป็นเครื่องมือในการคุ้มครองทางการค้าเพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายใน ประเทศ ทั้งนี้ นโยบายทางการค้าระหว่างประเทศในช่วงระยะเวลาดังกล่าวเป็นไปอย่างไร้รูปแบบ โดย ปราศจากองค์การระหว่างประเทศที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางสําหรับดูแลในเรื่องการค้าการลงทุน ระหว่างประเทศ รวมถึงไม่มีองค์การระหว่างประเทศใดที่ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อให้เป็นองค์การระหว่างประเทศสําหรับการส่งเสริมด้านการค้าการลงทุนระหว่างประเทศโดยตรง หลังสงครามโลกครั้งที่สองจบลง ประเทศต่างๆ ที่ประสบปัญหาจากสงครามต่างต้องการที่จะฟื้นฟู เศรษฐกิจ ตัวแทนจากประเทศต่างๆ 40 ประเทศจึงได้ร่วมกันประชุมที่เมือง Bretton Woods รัฐ New Hampshire ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1944 และได้เริ่มจัดตั้ง 3 องค์กรหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ โลก หรือที่เรียกว่า Bretton Woods Institutions ได้แก่ 1. กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) เพื่อส่งเสริมความ ร่วมมือทางการเงินระว่างประเทศ เพื่อช่วยเหลือประเทศสมาชิกแก้ไขปัญหาด้านดุลการชําระเงิน รวมถึง เพื่อช่วยส่งเสริมเสถียรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน 2. ธนาคารระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา (International Bank for Reconstruction and Development: IBRD) โดยในระยะแรกนั้นจะเน้นการระดมทุนและจัดสรรทุนเพื่อบูรณะยุโรปหลัง สงคราม ก่อนที่จะขยายขอบเขตมาเป็นการให้เงินกู้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจแก่ประเทศทั่วไป 3. องค์การการค้าระหว่างประเทศ (International Trade Organization: ITO) โดยมี วัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นกลไกในการดูแลการค้าระหว่างประเทศ อย่างไรก็ตาม การจัดตั้ง ITO ไม่ประสบ ความสําเร็จเนื่องจากสหรัฐอเมริกาไม่ได้ร่วมลงนามในสัตยาบัน การสร้างความร่วมมือทางการค้าจึงทําได้ เพียงแค่ทําผ่านกรอบข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (General Agreement on Tariff and Trade: GATT) ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า หรือ GATT มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้ เกิดการขยายตัวของการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต การ จ้างงาน และทําให้การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดเกิดประสิทธิผลสูงสุด GATT มีประเทศสมาชิกก่อตั้งจํานวน 23 ประเทศ โดยแบ่งเป็นประเทศพัฒนาแล้ว 12 ประเทศ และประเทศกําลังพัฒนา 11 ประเทศ คือ ออสเตรเลีย เบลเยียม บราซิล พม่า แคนาดา ศรีลังกา ชิลี จีน คิวบา เชคโกสโลวาเกีย ฝรั่งเศส อินเดีย เลบานอน ลักเซมเบิร์ก เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ นอรเวย์ ปากีสถาน โรดีเซียใต้ ซีเรีย แอฟริกาใต้ สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา โดยมีการลงนามในวันที่ 30 ตุลาคม ปี ค.ศ. 1947 และเริ่มบังคับใช้ ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1948 GATT เป็นข้อตกลงแบบพหุภาคี (Multilateral Trade Liberalization) เป็นแนวคิดที่ประเทศ อังกฤษเป็นผู้นําเสนอผ่านร่างระเบียบการค้าระหว่างประเทศ (A Proposal for an International Com- mercial) โดยยึดหลักพื้นฐานอยู่บนหลักแนวคิดการค้าแบบเสรีทุนนิยม ทั้งนี้ข้อตกลงที่จัดทําขึ้นในขณะนั้นครอบคลุมถึงด้านการค้าและการบริการ โดยมีหลักเกณฑ์ที่สําคัญดังนี้ 1) การอ้างอิงหลักการปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง (Most Favored Nation Treatment: MFN) ซึ่งเป็นสถานะที่ชาติหนึ่งจะให้สิทธิพิเศษทางการค้าแก่อีกชาติอื่นอย่างเท่าเทียม โดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ โดยสิทธิพิเศษดังกล่าวจะครอบคลุมถึงข้อได้เปรียบทางการค้าทั้งหมดที่มากกว่าชาติอื่น 2) การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศต้องทําโดยการใช้มาตรการทางภาษีเท่านั้น ห้ามใช้การจํากัดการนําเข้า 3) กรณีที่เกิดวิกฤตด้านดุลการชําระเงิน อาจอนุญาตให้ประเทศดังกล่าวจํากัดการนําเข้าได้ 4) สินค้าที่ประเทศสมาชิกตกลงลดภาษีแล้วจะไม่มีการขึ้นภาษีในภายหลัง 5) กรณีมีข้อพิพาททางการค้า ให้คู่กรณีใช้การหารือ (Consultation) แทนการตอบโต้ (Retaliation) 6) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อนําไปสู่การค้าเสรี GATT ถือได้ว่าเป็นกลไกสําคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้า ขจัดอุปสรรคทางการค้า และส่งเสริมความประพฤติของสมาชิกให้มีการดําเนินการที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ (Unilateral Act) ดังนั้น อาจสรุปได้ว่าข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้าถือเป็นกติกาที่เกิดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อ ส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันอย่างยุติธรรม (Fair Competition) โดยที่ผ่านมามีการจัดทําการเจรจาการค้า ระดับพหุภาคี (Multilateral Trade Negotiation: MTN) โดยมีการเจรจาทั้งสิ้น 8 รอบ ดังนี้ รอบที่ 1 การเจรจารอบเจนีวา (Geneva Round) เกิดขึ้นในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม ปี ค.ศ. 1974 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศเข้าร่วม 23 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อกําหนด อัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน ในระดับที่ต่ํากว่าเดิม ข้อสรุปของการประชุมคือมีการจัดทําข้อตกลงลด หย่อนภาษีศุลกากรสําหรับสินค้าทั้งสิ้นจํานวนกว่า 45,000 รายการ ครอบคลุมเกินกว่าครึ่งของปริมาณการค้าโลก รอบที่ 2 การเจรจารอบอันซี (Annecy Round) จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1949 ที่ประเทศฝรั่งเศสมี ประเทศเข้าร่วมประชุมจํานวน 13 ประเทศ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ประเทศที่ไม่ได้เจรจาในรอบเจนีวาได้ มีโอกาสเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรเพิ่มเติม ผลของการเจรจาแม้จะมีการลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน แต่ก็มีจํานวนรายการสินค้าที่น้อยกว่าการเจรจาในรอบเจนีวา รอบที่ 3 การเจรจารอบทอร์เควย์ (Torquay Round) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1951 ที่เมืองทอร์เควย์ ประเทศฝรั่งเศส มีประเทศเข้าร่วมจํานวน 38 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่าง กัน มีข้อสรุปของการเจรจามีการลดภาษีศุลกากรลงเฉลี่ยร้อยละ 25 เมื่อเปรียบเทียบกับในปี ค.ศ. 1948 รอบที่ 4 เจนีวา (Geneva Round) จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1956 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศเข้าร่วมทั้งสิ้นจํานวน 26 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน โดย มีข้อสรุปของการเจรจาเป็นการลดอัตราภาษีศุลกากรในระดับที่ต่ําลงโดยเฉลี่ย รอบที่ 5 การเจรจารอบดิลเลียน (Dillion Round) เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1960-1961 จัดขึ้นที่เมือง เจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศเข้าร่วม 20 ประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อเจรจาลดอัตราภาษี ศุลกากรระหว่างกัน การเจรจาในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการประกาศรวมกลุ่มประเทศยุโรปตะวันตกเป็น ตลาดร่วมยุโรป และเสนอปรับปรุงบทบัญญัติข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลการและการค้า มีข้อสรุป ของการเจรจาโดยการลดอัตราภาษีศุลกากรจํานวนกว่า 4,400 รายการ อย่างไรก็ตามการลดอัตราภาษี ศุลกากรดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงสินค้าเกษตร หรือสินค้าที่มีความอ่อนไหวง่าย รอบที่ 6 การเจรจารอบเคเนดี้ (Kennedy Round) จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1964-1967 ที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีประเทศเข้าร่วมจํานวน 62 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากร ระหว่างกัน และเจรจาความตกลงข้างเคียง หรือความตกลงย่อย (Side Agreements) เรื่องการตอบโต้ การทุ่มตลาด มีข้อสรุปของการเจรจา คือการลดอัตราภาษีศุลกากรจากเฉลี่ยร้อยละ 13 เหลือร้อยละ 7 และ มีการกําหนดสูตรลดภาษีในสินค้าอุตสาหกรรมเกือบทุกรายการเป็นอัตราร้อยละ และมีการรับรองความ ตกลงข้างเคียง (Side Agreement) เรื่องการตอบโต้การทุ่มตลาด รอบที่ 7 การเจรจารอบโตเกียว (Tokyo Round) จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1973-1979 ที่เมืองโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีประเทศเข้าร่วมจํานวน 99 ประเทศ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเจรจาลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่าง กัน เจรจาความตกลงข้างเคียงเกี่ยวกับมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีศุลกากร ข้อสรุปของการเจรจาส่งผลให้มีการ ลดภาษีศุลกากรจากเฉลี่ยร้อยละ 7 เหลือร้อยละ 4.7 และบรรลุข้อตกลงข้างเคียงจํานวน 9 ความตกลง ได้แก่ 1) ข้อตกลงว่าด้วยการค้าเนื้อวัว (Bovine Meat) 2) การออกใบอนุญาตนําเข้า (Import Licensing) 3) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (Technical Barriers to Trade: TBT) 4) การอุดหนุนและมาตรการ ตอบโต้ (Subsidy and Countervailing Measure) 5) ภาระการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ (Government Procurement) 6) ข้อตกลงว่าด้วยการค้าอากาศยานพลเรือน (Civil Aircraft) 7) ข้อตกลงว่าด้วยการ ค้าสินค้าโคนม (International Dairy Product) 8) การตอบโต้การทุ่มตลาด (Anti-Dumping) และ 9) การประเมินราคาเพื่อการศุลกากร (Customs Valuation) รอบที่ 8 การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย (Uruguay Round) จัดขึ้นในปี ค.ศ. 1986-1993 ที่เมือง ปูนต้า เดล เอสเต้ ประเทศอุรุกวัย และมีการเจรจาต่อเนื่องต่อที่เมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มี ประเทศเข้าร่วม 117 ประเทศ เพื่อลดอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกันและเจรจาเกี่ยวกับมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี ผลของการเจรจาครอบคลุมสินค้าและการค้าบริการ ซึ่งเป็นข้อตกลงข้างเคียงจํานวน 15 เรื่อง และมีการลดอัตราภาษีศุลกากรเฉลี่ยลงจากร้อยละ 40 โดยประเทศสมาชิกขององค์การการค้าโลกจะต้อง ยอมรับผลการเจรจาที่ได้สิ้นสุดจากการเจรจารอบอุรุกวัยโดยไม่มีการยกเว้น (Single Undertaking) ทั้งนี้ การเจรจารอบอุรุกวัยถือเป็นการจัดระเบียบการค้าขึ้นใหม่ และครอบคลุมถึงสินค้าเกษตร การค้า สิ่งทอ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา และอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภท ทั้งนี้ การเจรจาการค้ารอบอุรุกวัย เป็นการเจรจารอบสุดท้ายภายใต้ GATT หลังจากการจัดทําข้อตกลงให้ยกฐานะ GATT ขึ้นเป็นองค์การ การค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เนื่องจากประเทศสมาชิกเห็นร่วมกันว่าควรจัดตั้ง องค์กรขึ้นมาเพื่อทําหน้าที่แทน GATT เนื่องจาก GATT เป็นเพียงความตกลงทางการค้าและไม่มีอํานาจ ในการบังคับสมาชิก องค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลก (World Trade Organization: WTO) เป็นองค์การระหว่างประเทศที่พัฒนา ต่อมาจาก GATT ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1995 มีสมาชิกร่วมก่อตั้งทั้งหมด 81 ประเทศ และมีประเทศสมาชิก ทั้งหมด 164 ประเทศในปี ค.ศ. 2020 โดยมีประเทศอัฟกานิสถานเป็นประเทศที่เข้าร่วมล่าสุดในปี ค.ศ. 2016 สําหรับประเทศไทยเป็นสมาชิกก่อตั้งลําดับที่ 59 การจัดตั้ง WTO สอดคล้องกับพัฒนาการของ เศรษฐกิจโลกที่มีความเกี่ยวพันซึ่งกันและกันเพิ่มขึ้น ดังนั้นการจัดตั้งองค์การการค้าระหว่างประเทศอย่างเป็นรูปธรรมจะช่วยให้เกิดหน่วยงานกลางระหว่างประเทศในการกํากับและดูแลการค้าระหว่างประเทศอย่างเป็นระบบและเป็นธรรม มีความโปร่งใสมากกว่าที่จะดําเนินตามนโยบายของประเทศอุตสาหกรรมชั้นนํา ประเทศใด หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นการเฉพาะซึ่งมักนําไปสู่ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ 1. วัตถุประสงค์การจัดตั้งองค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลกเป็นองค์การสากลที่สนับสนุน ให้การค้าระหว่างประเทศมีอุปสรรคและข้อกีดกันทางการค้าน้อยที่สุด มีการกําหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับ การค้า สินค้า บริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และการลงทุน ตลอดจนกระบวนการในการระงับข้อพิพาท อย่างโปร่งใสและเป็นธรรมกับประเทศสมาชิก ทั้งนี้วัตถุประสงค์และหน้าที่ขององค์การการค้าโลกสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) เป็นตัวกลางในการติดตามการปฏิบัติตามความตกลงต่างๆ ของ WTO และกฎระเบียบ การค้าระหว่างประเทศของ WTO ของประเทศสมาชิก 2) เป็นตัวกลางสําหรับจัดเวทีเจรจาระดับพหุภาคีของประเทศภาคีสมาชิก 3) เป็นตัวกลางสําหรับการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศอันเนื่องมาจากการค้า การให้ บริการ การลงทุน และทรัพย์สินทางปัญญา 4) เป็นกลไกสําหรับการศึกษาและวิเคราะห์ในประเด็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ เพื่อ กําหนดนโยบายทางการค้าในระดับสากล 5) เป็นตัวกลางสําหรับความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศอื่นๆ เพื่อให้มีการดําเนิน นโยบายทางเศรษฐกิจ และการค้าที่สอดคล้องเป็นหนึ่งเดียว ในส่วนการดําเนินงานขององค์การการค้าโลกจะมาจากการออกข้อมติ และบัญญัติกฎเกณฑ์ เป็น มาตรฐานการดําเนินการระหว่างประเทศของประเทศสมาชิก โดยมีกระบวนการวิธีการต่างๆ ตามหลักการ ดําเนินงานตามตราสารก่อตั้งองค์การการค้าโลก ซึ่งกําหนดไว้ดังนี้ 1) ข้อมติที่ออกมาโดยหน่วยงานภายในองค์การการค้าโลก จะต้องแจ้งไปยังองค์การระหว่าง ประเทศอื่นๆ โดยพิจารณาว่าข้อมติใดขององค์การการค้าโลกที่จะก่อให้เกิดผลทางกฎหมายอันมีสภาพ บังคับใช้ให้ประพฤติปฏิบัติตาม รวมถึงแจ้งไปยังองค์การระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อมติต่างๆ จะมา จากข้อเสนอของการประชุมในระดับรัฐมนตรีและพิจารณาเสียงที่เป็นเอกฉันท์ (Consensus) หรือการโหวต เสียงส่วนใหญ่ (Majority Vote) 2) องค์การการค้าโลกจะต้องแจ้งมติไปยังประเทศภาคีสมาชิก และเตือนย้ําให้ประเทศ สมาชิกถือปฏิบัติ และหากประเทศสมาชิกใดไม่ปฏิบัติตามจะต้องได้รับแรงกดดันจากประเทศสมาชิกอื่นๆ ซึ่งจะเป็นไปตามกรอบของมติองค์การการค้าโลก ในกรณีหากเกิดปัญหาขึ้น ประเทศสมาชิกจะต้องพร้อมต่อการชี้แจง อาทิ อัตราภาษีศุลกากรที่ จัดเก็บ ความซับซ้อนของการจัดเก็บภาษี กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของสินค้า หรือบริการ นโยบายการแข่งขันภายในประเทศ นโยบายการสนับสนุนสินค้าเกษตร ความสามารถในการ เข้าถึงตลาดของสินค้าจากต่างประเทศ ข้อจํากัดทางด้านธุรกิจอันเนื่องมาจากข้อกําหนดการถือหุ้น โดยประเด็นดังกล่าวประเทศสมาชิกจะต้องพร้อมต่อการชี้แจงเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อองค์การการค้าโลกจะรวบรวมประเด็นต่างๆ ที่ได้ชี้แจงนําเสนอต่อที่ประชุมประเทศสมาชิกอื่นๆ ให้ร่วมพิจารณา ดังนั้น การทําหน้าที่ขององค์การการค้าโลกจําเป็นต้องอาศัยการใช้อํานาจ เพื่อกดดันให้ประเทศ สมาชิกปฏิบัติตามโดยไม่มีข้อยกเว้น และมีการกําหนดมาตรการต่างๆ เพื่อกดดันประเทศสมาชิกที่ไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ โดยลักษณะสําคัญของการบังคับใช้อํานาจขององค์การการค้าโลกกับข้อตกลงทั่วไป ว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า สรุปได้ดังนี้ 1) กลไกการควบคุมดูแลและตรวจสอบของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการ ค้า มีลักษณะเป็นการบังคับในตัวเอง จากการที่ประเทศสมาชิกขององค์การไม่สามารถเลือกปฏิบัติ โดยมี กฎเกณฑ์ที่เป็นบรรทัดฐาน 2) กลไกควบคุมและตรวจสอบขององค์การการค้าโลก และกระบวนการในการระงับข้อพิพาท จะต้องมีการอ้างอิงข้อมูลสาธารณะ และการเปิดให้ตรวจสอบระหว่างสมาชิกด้วยกันเอง 2. ประโยชน์ของการจัดตั้งองค์การการค้าโลก การจัดตั้งองค์การการค้าโลกก่อให้เกิดประโยชน์ หลายประการ ดังต่อไปนี้ 1) ช่วยลดข้อขัดแย้งอันเนื่องมาจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ ในรูปของการ สร้างความร่วมมือ และส่งเสริมความมั่นใจในระบบการค้าระหว่างประเทศ เพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่เคย เกิดในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 หรือในช่วงต้นทศวรรษที่ 1930 เมื่อประเทศต่างๆ นํานโยบายการกีดกัน การค้ามาใช้ ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ําอย่างรุนแรงในหลายอุตสาหกรรม อาทิ อุตสาหกรรมถ่านหิน เหล็ก หรือเหล็กกล้า และนํามาสู่การจัดทําข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า ซึ่งถูกพัฒนา ไปเป็นองค์การการค้าระหว่างประเทศ อาทิ การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างประเทศ สหรัฐอเมริกาและกลุ่มประชาคมยุโรป 2) ช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบการแก้ไขข้อโต้แย้งอย่างเป็นระบบ เมื่อการค้าการลงทุน ระหว่างประเทศมีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เช่นเดียวกับประเทศที่เปิดการค้าระหว่างประเทศมีจํานวนมากขึ้นเรื่อยๆ องค์การการค้าโลกจึงถือเป็นองค์การสําคัญในการสร้างระบบการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงกระบวนการแก้ไขข้อโต้แย้งต่างๆ ให้สามารถบรรลุผลได้อย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ซึ่ง แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ไม่มีกลไกดังกล่าวในการแก้ไขปัญหา การที่ องค์การการค้าโลกมีภารกิจที่จะต้องสร้างความน่าเชื่อถือให้กับประเทศสมาชิกว่าไม่ได้มีการดําเนินการที่โอนเอียงไปทางประเทศใดประเทศหนึ่ง โดยเฉพาะประเทศอุตสาหกรรมซึ่งมีความร่ํารวย หรือเมื่อเกิดข้อโต้แย้งขึ้น และถูกนําเข้าสู่การพิจารณาขององค์การการค้าโลก จะพิจารณาระเบียบกฎเกณฑ์ภายใต้การ ยอมรับของประเทศสมาชิกเป็นพื้นฐานสําคัญและอ้างอิงได้ ตลอดจนมีการเจรจาขอให้มีการแก้ไขให้เป็นไปตามนั้น ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะช่วยลดความรุนแรงทางการเมืองระหว่างคู่กรณี ทั้งนี้คําวินิจฉัยขององค์การการค้าโลกถือเป็นบรรทัดฐานให้ประเทศสมาชิกต้องดําเนินการตาม 3) ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันของประเทศสมาชิก โดยมิได้คํานึงถึงขนาด หรือ อิทธิพลของประเทศใดประเทศหนึ่งเป็นการเฉพาะ เพราะการตัดสินใจใดๆ ขององค์การการค้าโลก จะต้อง มาจากฉันทามติ ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากเหล่าประเทศสมาชิก โดยประเทศสมาชิกที่มีขนาดเล็กจะได้รับการยอมรับความเห็นเท่าเทียมกับประเทศสมาชิกที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ 4) ช่วยยกระดับมาตรฐานการครองชีพ ซึ่งเป็นไปตามพันธกิจขององค์การการค้าโลก ที่ มุ่งเน้นให้เกิดการค้าเสรี ช่วยลดการปกป้องการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าและ บริการในระดับราคาที่ถูกลง ยกระดับมาตรฐานการครองชีพของประชาชน โดยเฉพาะสินค้าในหมวดอาหาร สิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่ม 5) ช่วยให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น เพราะการนําเข้าสินค้าและบริการ จากประเทศอื่นๆ ช่วยให้ผู้บริโภคในประเทศนั้นๆ สามารถเลือกสินค้าและบริการที่มีความหลากหลาย มี คุณภาพมากยิ่งขึ้น นําไปสู่การพัฒนาในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเทคโนโลยี รูปแบบของการดํารง ชีวิตและมาตรฐานการครองชีพ 6) ช่วยผลักดันให้เกิดการยกระดับในเรื่องของรายได้ โดยนับจากที่ได้บรรลุข้อตกลงการ เจรจาการค้ารอบอุรุกวัยมีการผลักดันให้เกิดการขยายตัวทางการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ส่งผลให้ เกิดการจ้างงาน และการเคลื่อนย้ายเงินทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ส่งผลต่อระดับรายได้ที่สูงขึ้น ในประเทศที่กําลังพัฒนา 7) ช่วยผลักดันให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการคุ้มครองทางการค้ามักนําไปสู่ความ ไร้ประสิทธิภาพของการผลิตของอุตสาหกรรมภายในประเทศ แม้จะเป็นการช่วยป้องกันปัญหาการว่างงานแต่ก็เป็นเพียงในระยะสั้นเท่านั้น ในทางตรงข้ามการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศจะช่วยกระตุ้นให้เกิด การเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยประชาชนส่วนใหญ่จะมีงานเพิ่มขึ้นจากการทํางานในกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการส่งออก 8) ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต แม้การผลักดันให้เกิดการค้าระหว่างประเทศอย่าง เสรีจะไม่สามารถคํานวณผลกระทบในเชิงบวกเป็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน แต่การสนับสนุนให้เกิดการเคลื่อนย้ายทรัพยากรต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้เกิดการผลิตที่มีต้นทุนต่ําลงเมื่อเปรียบเทียบกับระบบ คุ้มครองทางการค้าแบบดั้งเดิม 9) ช่วยให้รัฐบาลของประเทศสมาชิกมีข้อมูลพิจารณาในมุมกว้าง ภายใต้ระบบข้อมูลที่ องค์การการค้าโลกเป็นผู้รวบรวมและนําเสนอ ช่วยให้รัฐบาลของเหล่าประเทศสมาชิกสามารถพิจารณาข้อมูลได้อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการกําหนดนโยบายการกีดกันทางการค้าและนําไปสู่ความสูญเสียของคู่กรณีที่เกี่ยวข้องอย่างรุนแรง ช่วยให้เหล่ารัฐบาลของประเทศสมาชิกลดแรงกดดัน จากบรรดากลุ่มเคลื่อนไหว (Lobbyist) ในเรื่องต่างๆ ผ่านกลไกทางการค้า การลงทุนระหว่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลงที่เป็นไปอย่างโปร่งใสขององค์การการค้าโลก 3. กลไกการดําเนินงานขององค์การการค้าโลก องค์การการค้าโลกจะตรวจสอบและดูแลว่า ประเทศสมาชิกมีการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่องค์การการค้าโลกได้กําหนดไว้หรือไม่ เพื่อสร้างความน่าเชื่อ ถือให้กับรัฐสมาชิกอื่นๆ ในการเคารพและปฏิบัติตาม ดังนั้นวัตถุประสงค์ในการดูแลและตรวจสอบการ ปฏิบัติงานขององค์การการค้าโลก จึงควรเป็นไปโดยป้องกันการหลีกเลี่ยงการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ โดย อาศัยกรณีตัวอย่างที่ได้รับการวินิจฉัยแล้วเป็นบรรทัดฐาน ทั้งนี้ กลไกภายในสําหรับการดําเนินการของ องค์การการค้าโลกในการดูแลและตรวจสอบเพื่อให้การทํางานขององค์การการค้าโลกเกิดผลทางกฎหมายประกอบไปด้วย 1) องค์กรประเมินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ (Trade Policy Review Body: TPRB) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดกลไกการควบคุมดูแลตรวจสอบ ทั้งนี้ TPRB เป็นหน่วยงานภายในขององค์การ การค้าโลก ซึ่งการดําเนินงานครอบคลุมตั้งแต่การจัดทํารายงาน และการตรวจสอบรับสมาชิกใหม่ การจัด อภิปรายระหว่างรัฐสมาชิก โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการดําเนินการในลักษณะที่เป็นการประนีประนอม ระหว่างรัฐสมาชิก 2) ส่วนงานทบทวนนโยบายการค้า (Trade Policy Review Division: TPRD) เป็นหน่วย งานภายในที่ควบคุมการจัดทํารายงานของประเทศสมาชิก โดยมีกระบวนการทํางานเริ่มต้นตั้งแต่การจัด ส่งแบบสอบถามไปยังประเทศสมาชิก ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องส่งผลแบบสอบถามกลับมาภายในระยะเวลาที่กําหนดแบบสอบถามส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับนโยบายและแนวปฏิบัติทางการค้าของประเทศสมาชิกรวมถึงการกําหนดนโยบายหรือการเปลี่ยนแปลงนโยบายที่มีผลต่อกระบวนการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้TPRD ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน คอยควบคุมดูแลการร่างรายงานของประเทศสมาชิก เพื่อตรวจสอบว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับที่กําหนดโดยองค์การการค้าโลก โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหาของการจัดทํารายงานใดๆ โดยลําพัง ทั้งนี้รายงานดังกล่าวจะนําเสนอให้ต่อที่ประชุมแห่งสมาชิกขององค์การการค้าโลก 3) เลขาธิการองค์การการค้าโลก (WTO Secretariat) เป็นหน่วยงานภายในที่รับผิดชอบ ในกระบวนการควบคุมดูแลและตรวจสอบ โดยประเทศพัฒนาแล้วจะมีการตรวจสอบที่บ่อยครั้งกว่าประเทศกําลังพัฒนา หรือประเทศที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจโลกจะได้รับการตรวจสอบในรายละเอียดมากกว่า ประเทศอื่นๆ การตรวจสอบต่างๆ จากองค์การการค้าโลกมีเพื่อลดความขัดแย้งและการเผชิญหน้าระหว่างประเทศสมาชิก โดยจะมีการพิจารณาข้อมูลจากการร้องเรียน ทําการตรวจสอบและเตือนประเทศสมาชิกที่กระทําการละเมิดกฎเกณฑ์เหล่านั้นด้วยกลไกที่โปร่งใส 4. ขั้นตอนการปฏิบัติขององค์การการค้าโลกต่อกรณีพิพาท เนื่องด้วยองค์การการค้าโลกมีหน้าที่ หลากหลายในการแก้ไขความขัดแย้งอันเนื่องมาจากการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นการตรวจสอบประเทศ สมาชิกจําเป็นที่จะต้องได้รับความร่วมมือในการจัดทําและรายงานข้อมูล โดยมีข้อมูลสําคัญ ได้แก่สภาวการณ์ ทางเศรษฐกิจ กฎเกณฑ์ว่าด้วยการค้าการลงทุนจากต่างชาติ นโยบายและมาตรการที่ส่งผลต่อการค้าและ การลงทุน โดยมีการกําหนดกลไกในการตรวจสอบหลักๆ ดังนี้ 1) การจัดทําข้อร้องเรียน ซึ่งถือเป็นขั้นตอนแรกของกระบวนการตรวจสอบ โดยองค์กร ประเมินนโยบายการค้าระหว่างประเทศ (TPRB) จะพิจารณารายละเอียดของคําร้องเรียนว่ามีความครบ ถ้วนและอยู่ในของเขตของการรับพิจารณาได้หรือไม่ และจะกําหนดวันประชุมอภิปรายระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อรับการตรวจสอบโดยขั้นตอนดังกล่าวเป็นการดําเนินงานภายในขององค์การการค้าโลก 2) การแสวงหาข้อเท็จจริงและตรวจสอบ มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทํารายงานการตรวจสอบ ในประเด็นที่สามารถสืบสวนหรือตั้งข้อสังเกต ซึ่งสอดคล้องกับการอ้างอิงพยานเอกสารและพยานวัตถุ 3) กลไกแก้ไขให้เกิดความถูกต้อง (Correction Function) เป็นการดําเนินการโดยตรงของ องค์การการค้าโลก ในฐานะองค์การที่มีอํานาจในเรื่องนั้นโดยตรง การดําเนินการขององค์การการค้าโลกในกระบวนการดังกล่าวอาจมีข้อยกเว้นในประเด็นหลักๆ เช่น การดําเนินการของประเทศกําลังพัฒนาที่อาจไม่พร้อมต่อการเปิดเสรีตามเงื่อนไขขององค์การการค้า โลก ทั้งนี้องค์การการค้าโลกตระหนักดีว่าฐานะทางเศรษฐกิจของประเทศกําลังพัฒนาไม่อาจเปรียบเทียบ กับประเทศพัฒนาแล้วได้ เนื่องจากความแตกต่างทางโครงสร้างของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง กิจกรรม 4.1.1 1. นานาประเทศแสดงออกถึงความร่วมมือเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่สองผ่านการ จัดตั้งองค์กรระหว่างประเทศอะไรบ้าง 2. วัตถุประสงค์ของการจัดทําข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) คือ อะไร และหลักเกณฑ์ที่สําคัญของการจัดทําข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้าคืออะไร 3. จงยกตัวอย่างประโยชน์ของการจัดตั้งองค์การการค้าโลก แนวตอบกิจกรรม 4.1.1 1. ตัวแทนจากประเทศต่างๆ 40 ประเทศได้จัดตั้ง 3 องค์กรหลักเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจโลก หรือที่ เรียกว่า Bretton Woods Institutions ในปี ค.ศ. 1944 ได้แก่ 1) กองทุนการเงินระหว่างประเทศ 2) ธนาคาร ระหว่างประเทศเพื่อการบูรณะและพัฒนา และ 3) องค์การการค้าระหว่างประเทศ 2. GATT มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการค้า และสนับสนุนให้เกิดการขยายตัวของ การค้าการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิต การจ้างงาน และทําให้ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดเกิดประสิทธิผลสูงสุด โดยมีหลักเกณฑ์ที่สําคัญดังนี้ 1) การอ้างอิงหลัก การปฏิบัติอย่างชาติที่ได้รับความอนุเคราะห์ยิ่ง 2) การคุ้มครองอุตสาหกรรมภายในประเทศต้องทําโดย การใช้มาตรการทางภาษีเท่านั้น 3) สินค้าที่ประเทศสมาชิกตกลงลดภาษีแล้วจะไม่มีการขึ้นภาษีใน ภายหลัง 4) กรณีมีข้อพิพาททางการค้า ให้คู่กรณีใช้การหารือแทนการตอบโต้ 5) กรณีที่เกิดวิกฤตด้าน ดุลการชําระเงิน อาจอนุญาตให้ประเทศดังกล่าจํากัดการนําเข้าได้ และ 6) ส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเพื่อนําไปสู่การค้าเสรี 3. การจัดตั้งองค์การการค้าโลกก่อให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น 1) ช่วยให้เกิดการลดข้อ ขัดแย้งอันเนื่องมาจากการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ 2) ช่วยสนับสนุนให้เกิดระบบการแก้ไขข้อ โต้แย้งอย่างเป็นระบบ และ 3) ช่วยส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันของเหล่าประเทศสมาชิก #4-14 เรื่องที่ 4.1.2 ความตกลงทางการค้าที่สําคัญ นอกจากประเทศต่างๆ จะเปิดเสรีทางการค้าภายใต้การเป็นสมาชิกขององค์กรการค้าโลก ซึ่ง เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเชิงกว้างตามที่ได้กล่าวไปในข้างต้นแล้วนั้น ประเทศต่างๆ ยังมีการเปิดเสรีทางการค้าพร้อมกันอีกหลายรูปแบบ เช่น สหรัฐอเมริกาเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก และสหรัฐอเมริกามีการทําความตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agree-ment: NAFTA) หรือที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น ข้อตกลงการค้าสหรัฐฯ แคนาดา เม็กซิโก (US-Mexico- Canada Agreement: USMCA) ในขณะเดียวกันสหรัฐอเมริกาก็มีการทําความตกลงเขตการค้าเสรีแบบ รายประเทศ เช่น เขตการค้าเสรีสหรัฐอเมริกา-สิงคโปร์ พร้อมกันนั้นสหรัฐอเมริกาก็ได้ให้สิทธิพิเศษทาง ภาษีศุลกากร (Generalized System of Preferences: GSP) แก่ประเทศด้อยพัฒนาและประเทศกําลัง พัฒนา ซึ่งรูปแบบการเปิดเสรีทางการค้าในมิติต่างๆ สามารถสรุปได้ดังนี้ ระดับของการเปิดเสรีทางการค้า แนวคิดแนวความคิดเกี่ยวกับการเปิดเสรีทางการค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับดังนี้ 1. ระดับฝ่ายเดียว (Unilateral Trade Liberalization) เป็นการเปิดเสรีทางการค้าให้กับคู่ค้า โดยที่ไม่ตั้งเงื่อนไขต่อเรื่องใดๆ กับประเทศคู่ค้าอื่น ซึ่งอาจเป็นการเปิดเสรีกับสินค้าบางประเภทโดยมี วัตถุประสงค์เพื่อปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มศักยภาพการผลิตให้แก่ภาคอุตสาหกรรม และขยายขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว 2. ระดับทวิภาคี (Bilateral Trade Liberalization) เป็นการทําข้อตกลงร่วมกับประเทศคู่ค้าที่ ทั้งสองประเทศเห็นชอบร่วมกันที่จะลดข้อจํากัดทางการค้า และเปิดเสรีทางการค้ามากขึ้น ซึ่งประเทศที่ไม่ได้เป็นคู่สัญญาจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าดังกล่าว 3. ระดับภูมิภาค (Regional Trade Liberalization) เป็นการให้ความตกลงเปิดเสรีทางการค้า ของกลุ่มประเทศที่อยู่ในภูมิภาคเดียวกัน อย่างไรก็ตาม การเปิดเสรีทางการค้าในระดับภูมิภาคอาจส่งผล เสียต่อประเทศนอกกลุ่ม เนื่องจากอาจถูกนํามาใช้เป็นเครื่องมือเพื่อการกีดกันประเทศคู่แข่งมิให้เข้าสู่ตลาด ของภูมิภาคได้ 4. ระดับพหุภาคี (Multilateral Trade Liberalization) เป็นการเปิดเสรีทางการค้าให้แก่ประเทศ ที่อยู่ในข้อตกลงหรือกรอบการค้าเสรีเดียวกัน ซึ่งเป็นการเปิดเสรีตามเจตนารมณ์ของ GATT ที่ต่อมา พัฒนาเป็น WTO โดยมีแนวคิดสําคัญที่ต้องการให้ทุกประเทศได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า อย่างเต็มที่โดยไม่มีการกีดกั้น ตัวอย่างความตกลงทางการค้าที่สําคัญ การเปิดเสรีทางการค้าแบบพหุภาคีนั้นมีอุปสรรคหลายประการ เช่น (1) มีประเทศเข้าร่วมเจรจา เป็นจํานวนมากซึ่งมีความต้องการแตกต่างกัน และ (2) ระดับของการพัฒนาประเทศมีความแตกต่างกัน มาก ซึ่งทําให้การประสานผลประโยชน์และการหาข้อตกลงร่วมกันจึงทําได้อย่างยากลําบาก ดังนั้นรูปแบบ ความตกลงทางการค้าในปัจจุบันจึงอยู่ในระดับภูมิภาคมากขึ้น ทั้งนี้ ตัวอย่างการจัดทําความตกลงระดับ ภูมิภาคที่มีนัยต่อเศรษฐกิจระหว่างประเทศของไทยที่สําคัญประกอบด้วย 1) ความตกลงหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership: RCEP) และ 2) ความ ตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Comprehensive and Progressive Agreement of Trans-Pacific Partnership: CPTPP) ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค หรือ RCEP เป็นการจัดทําความตกลงการค้าเสรี ฉบับองค์รวม (Comprehensive Free Trade Agreement) ระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ กับประเทศคู่เจรจาของอาเซียนทั้ง 6 ประเทศ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ การจัดทําความตกลง RCEP มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ เกิดการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจตามแผนการจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยผู้นําประเทศสมาชิก อาเซียนได้รับรองเอกสารกรอบอาเซียนสําหรับภูมิภาคหุ้นส่วนเศรษฐกิจ (ASEAN Framework for Regional Comprehensive Economic Partnership: ASEAN Framework for RCEP) lun ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 19 เมื่อวันที่ 15-18 พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 2011 ณ เมืองบาหลี สาธารณรัฐ อินโดนีเซีย โดยมีจุดมุ่งหมายให้มีการเปิดเสรีครอบคลุมทั้งการค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน และ ความร่วมมืออื่นๆ ให้มีขอบเขต ครอบคลุมมากขึ้น และมีระดับการเปิดเสรีที่สูงกว่าความตกลงการค้าเสรี ระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาที่มีอยู่ ซึ่งได้แก่ 1) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ 2) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน 3) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี 4) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ญี่ปุ่น 5) ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-อินเดีย อย่างไรก็ตาม อินเดียได้ถอนตัวออกจากการเจรา RCEP ในปี ค.ศ. 2019 จากความกังวลเรื่อง การสูญเสียความสามารถในการแข่งขันหากต้องเปิดตลาดให้กับสินค้าจากจีน ทั้งนี้ RCEP จึงเป็นเสมือน การดึง FTA ของแต่ละคู่ประเทศมารวมอยู่บนมาตรฐานกฎกติกาเดียวกัน แม้ว่าปัจจุบัน ASEAN ได้ทํา ข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) รวม 4 ฉบับอยู่แล้ว (ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ จีน เกาหลี ญี่ปุ่น) แต่ FTA ดังกล่าวอาจจะยังมีความท้าทายในเชิงปฏิบัติอยู่มาก เช่น มาตรฐานของ FTA ระหว่าง ASEAN กับจีน แตกต่างจากของ ASEAN กับญี่ปุ่น ซึ่งสร้างความท้าทายต่อผู้ประกอบการที่ส่งออกไปยังทั้ง 2 ตลาดเป็นต้น 2. นัยต่อเศรษฐกิจ RCEP ถือเป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) รวมของ 15 ประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่า คิดเป็นประมาณ 30% ของ GDP โลก และครอบคลุมประชากร 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของ ประชากรโลก และหากอินเดียตัดสินใจกลับมาเข้าร่วม RCEP อีกครั้ง ความตกลงการค้านี้จะมีขนาดใหญ่ ขึ้นอีกเป็นประมาณ 33% ของ GDP โลก และครอบคลุมประชากรเกือบ 48% ของประชากรโลก ความตกลง RCEP จะเปิดเสรีทางการค้า บริการ และการลงทุนในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกที่มาก ขึ้น โดยในเบื้องต้นสมาชิก RCEP ตกลงจะลดภาษี 65% ของสินค้าทั้งหมดที่ค้าขายในกลุ่ม RCEP เหลือ 0% ทันที และอีก 20% จะทยอยลดภาษีเหลือ 0% ภายในระยะเวลา 10 ปี ส่วนสินค้าที่เหลือ ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นสินค้าอ่อนไหวจะมีการเจรจาให้มีการปรับลดภาษีลงในระยะต่อไป ยิ่งกว่านั้น ความตกลงดังกล่าวยังครอบคลุมด้านบริการและการลงทุน ทั้งบริการด้านการเงิน โทรคมนาคม และวิชาชีพ การเคลื่อนย้าย ชั่วคราวของบุคคลธรรมดา การลงทุนทรัพย์สินทางปัญญา ความร่วมมือด้าน e-Commerce การแข่งขัน ทางการค้ากับผู้ประกอบการ SMEs ตลอดจนการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP โดยเป็นความตกลงการค้าเสรีที่ครอบคลุมในเรื่องการค้า การบริการ และการลงทุนเพื่อสร้างมาตรฐานและ กฎระเบียบร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งในประเด็นการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา มาตรฐาน แรงงาน กฎหมายสิ่งแวดล้อม รวมถึงกลไกแก้ไขข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลและนักลงทุนต่างชาติ โดยใน ปัจจุบัน สมาชิก CPTPP มีทั้งหมด 11 ประเทศ คือ แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก เปรู ชิลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน และเวียดนาม 1. ความเป็นมาและวัตถุประสงค์ ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทาง เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ CPTPP เดิมมีชื่อว่าข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership: TPP) และมีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ คือ 11 ประเทศที่ได้กล่าวไปข้างต้น และสหรัฐอเมริกา แต่หลังจากสหรัฐอเมริกาถอนตัวออกไปเมื่อต้นปี ค.ศ. 2017 ประเทศสมาชิกที่เหลือก็ตัดสินใจเดินหน้าความตกลงต่อโดยใช้ชื่อใหม่ว่า CPTPP ความตกลง CPTPP เป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูงกว่าความตกลง FTA ทั่วไป ซึ่ง มีขอบเขตครอบคลุมการเปิดเสรีในทุกสาขา และครอบคลุมถึงกฎระเบียบและมาตรการที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐกิจในหลายมิติ ทั้งนี้ CPTPP มีความแตกต่างจาก TPP ใน 2 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) ขนาดของความตกลงการค้า โดย CPTPP จะมีขนาดเล็กว่า TPP จากการที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่อันดับหนึ่งของโลกไม่ได้เข้าร่วม ทั้งนี้ ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product: GDP) รวมของประเทศสมาชิก TPP มีมูลค่าคิดเป็นประมาณ 38% ของ GDP โลก แต่ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศรวมของประเทศสมาชิก CPTPP มีมูลค่าคิดเป็นประมาณ 13% ของ GDP โลก 2) รายละเอียดของความตกลงที่ผ่อนคลายมากขึ้น โดยสมาชิก 11 ประเทศได้ระงับข้อบัญญัติ ในบางประเด็นที่สหรัฐอเมริกาเคยสนับสนุน เช่น การขยายระยะเวลาคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจาก 50 ปี เป็น 70 ปี และการให้สิทธินักลงทุนฟ้องร้องรัฐบาลในบางกรณีที่นโยบายรัฐส่งผลลบต่อธุรกิจ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม CPTPP ยังคงเป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีมาตรฐานสูงกว่าความตกลง FTA อยู่มาก เพราะข้อบัญญัติที่เข้มงวดด้านอื่นๆ เช่น ความสอดคล้องทางกฎระเบียบ (Regulatory Coherence) มาตรฐานแรงงาน สิ่งแวดล้อมยังคงไว้เหมือนเดิม 2. นัยต่อเศรษฐกิจ CPTPP มีการบังคับใช้ไปตั้งแต่ 30 ธันวาคม ค.ศ. 2018 และเริ่มมีผลผูกพัน ลดภาษีทันทีในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2019 โดยเริ่มมีผลบังคับกับประเทศที่ให้สัตยาบันแล้ว 7 ประเทศ ได้แก่ ออสเตรเลีย แคนาดา ญี่ปุ่น เม็กซิโก นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และเวียดนาม ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างรอ ความพร้อมอีก 4 ประเทศ ได้แก่ บรูไน มาเลเซีย ชิลี และเปรู ทั้งนี้ CPTPP จะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวผ่าน 2 ช่องทางที่สําคัญ ได้แก่ 1) ช่วยยกระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผ่านช่องทางการค้า ที่มีตลาดที่ใหญ่ขึ้น และ 2) ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิก โดยเฉพาะการ ปรับตัวให้เข้ากับความสอดคล้องทางกฎระเบียบภายใต้แนวทางของ CPTPP ที่อิงกับเกณฑ์สากลเป็นหลัก กิจกรรม 4.1.2 1. การเปิดเสรีทางการค้าสามารถแบ่งได้เป็นกี่ระดับ 2. ทําไมความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) จึงมีนัยสําคัญต่อเศรษฐกิจโลก 3. ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสําหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) มีความแตกต่างจากข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (TPP) อย่างไร แนวตอบกิจกรรม 4.1.2 1. การเปิดเสรีทางการค้าสามารถแบ่งได้เป็น 4 ระดับ ได้แก่ 1) ระดับฝ่ายเดียว (Unilateral Trade Liberalization) 2) ระดับทวิภาคี (Bilateral Trade Liberalization) 3) ระดับภูมิภาค (Regional Trade Liberalization) 4) ระดับพหุภาคี (Multilateral Trade Liberalization) 2. RCEP ถือเป็นความตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ของ 15 ประเทศสมาชิก RCEP มีมูลค่าคิดเป็นประมาณ 30% ของ GDP โลก และครอบคลุมประชากร 2.2 พันล้านคน หรือเกือบ 30% ของประชากรโลก 3. CPTPP มีความแตกต่างจาก TPP ใน 2 ประเด็นสําคัญ ได้แก่ 1) ขนาดของความตกลงการค้า โดย CPTPP จะมีขนาดเล็กว่า TPP จากการที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ใหญ่อันดับหนึ่งของโลกไม่ได้เข้าร่วม 2) รายละเอียดของความตกลงที่ผ่อนคลายมากขึ้นจากการระงับข้อบัญญัติบางประเด็นที่อยู่ ใน TPP เช่น การขยายระยะเวลาคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาจาก 50 ปีเป็น 70 ปี และการให้สิทธิ นักลงทุนฟ้องร้องรัฐบาลในบางกรณีที่นโยบายรัฐส่งผลลบต่อธุรกิจ เป็นต้น #4-18 ตอนที่ 4.2 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ หัวเรื่อง 4.2.1 ระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4.2.2 การวิเคราะห์ผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4.2.3 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญ แนวคิด 1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นการเปิดเสรีทางการค้าที่มากขึ้นให้กับเฉพาะสมาชิก ภายในกลุ่ม ซึ่งแบ่งออกเป็น 6 ระดับ ได้แก่ 1) สิทธิพิเศษทางการค้า 2) เขตการค้าเสรี 3) สหภาพศุลกากร 4) ตลาดร่วม 5) สหภาพเศรษฐกิจ และ 6) สหภาพการเมืองการ ปกครอง 2. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นทางเลือกที่หลายประเทศใช้เป็นแนวทางการเปิดเสรี ทางการค้า ซึ่งทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจนั้นจะมี 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีสหภาพศุลกากร และทฤษฎีดีที่สุดอันที่สอง 3. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมีแรงจูงใจมาจากการที่กลุ่มประเทศได้ร่วมมือกันทําข้อตกลงเพื่อผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกในกลุ่ม ซึ่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถ แบ่งได้เป็นหลายลําดับขั้น ตั้งแต่การให้สิทธิพิเศษทางการค้า ไปจนถึงสหภาพการเมือง การปกครอง โดยที่ผ่านมามีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญ ได้แก่ สหภาพยุโรป และ ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน #4-19 เรื่องที่ 4.2.1 ระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นความพยายามที่จะลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งจะ เน้นการเปิดเสรีทางการค้าที่มากขึ้นให้กับเฉพาะสมาชิกภายในกลุ่ม แต่ประเทศที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มจะยังคง ถูกกีดกันทางการค้าทั้งจากมาตรการทางภาษีและไม่ใช่ภาษี การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจจึงมีความแตกต่าง จากการเป็นสมาชิกของข้อตกลงทั่วไปว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรและการค้า (GATT) และการเป็นสมาชิก ขององค์การการค้าโลก (WTO) ที่เป็นความตกลงทางการค้าระดับพหุภาคีต้องการให้ทุกประเทศได้รับ ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าอย่างเต็มที่โดยไม่มีการกีดกัน แม้การศึกษาทางเศรษฐศาสตร์จะชี้ว่าความตกลงทางการค้าระดับพหุภาคีจะช่วยก่อให้เกิดการใช้ ทรัพยากรโลกที่เกิดประโยชน์สูงสุด แต่หลายๆ ประเทศในปัจจุบันต่างก็มีการเจรจาทางการค้าในหลายๆ ระดับ อาทิ ระดับทวิภาคี ระดับภูมิภาค ควบคู่ไปกับการเจรจาแบบพหุภาคี เนื่องจากการหาข้อยุติทาง การค้าในระดับพหุภาคีนั้นทําได้ยากในความเป็นจริงเนื่องจากแต่ประเทศนั้นก็มีความต้องการที่แตกต่างกัน กล่าวคือ ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศนั้นบรรลุได้ยาก เนื่องจากแต่ละประเทศต้องพิจารณาถึง ผลประโยชน์ประเทศสุทธิที่ประเทศจะได้รับ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ เช่น การปกป้อง อุตสาหกรรมในประเทศ หรือเหตุผลทางด้านรัฐศาสตร์ เช่น ความมั่นคงของประเทศ เป็นต้น การเปิดเสรีทางค้าในระดับที่เข้มข้นน้อยลงกว่าระดับพหุภาคี เช่น การเปิดเสรีทางการค้าในระดับ ภูมิภาค หรือการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ จึงเป็นทางเลือกที่หลายๆ ประเทศดําเนินการ ทั้งนี้ การรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจก็มีระดับความเข้มข้นไม่ต่างจากระดับความเข้มข้นของการเปิดการค้าเสรี โดยการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจนั้นมีตั้งแต่ระดับที่หลวมที่สุด เช่น การทําข้อตกลงทางการค้าที่ลดระดับการกีดกัน เช่น การ ให้สิทธิพิเศษทางการค้า ไปจนถึงระดับที่แน่นแฟ้นที่สุดในระดับสหภาพการเมืองการปกครอง ซึ่งการรวม กลุ่มนั้นจะครอบคลุมทั้งการค้า การเงิน การปกครอง ทั้งนี้ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่ 1. สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Arrangements: PTA) เป็นการลดระดับการ กีดกันทางการค้าให้แก่ประเทศสมาชิกในกลุ่ม อาทิ การลดอัตราภาษีที่เคยจัดเก็บให้มีระดับต่ําลง หรือการ ลดความเข้มงวดของมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีเพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถทําการซื้อขายสินค้าได้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังถือว่าแต่ละประเทศยังทําการกีดกันทางการค้าในภาพรวม ดังนั้นการสิทธิพิเศษทางการค้า จึงถือว่าเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับที่หลวมที่สุด 2. เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) เป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกเลิกมาตรการกีดกันทางการ ค้าทั้งในรูปแบบภาษีศุลกากร รวมถึงยกเว้นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่รูปแบบภาษีศุลกากรที่เคย มีการใช้กันระหว่างประเทศสมาชิกออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม ประเทศสมาชิกที่อยู่ในกลุ่มจะยังคงสามารถ ที่จะกําหนดอัตราภาษีศุลกากร หรือใช้มาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่รูปแบบภาษีศุลกากรกับประเทศ นอกกลุ่มได้อย่างอิสระ ตัวอย่างการรวมกลุ่มในรูปแบบเขตการค้าเสรี เช่น 4-20 NAFTA) ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศ 1) สมาคมการค้าเสรียุโรป (European Free Trade Association: EFTA) 2) ข้อตกลงการค้าเสรีอเมริกาเหนือ (North American Free Trade Agreement: 3) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) 4) ข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Agreement: ACFTA) 3. สหภาพศุลกากร (Customs Union) จะมีความคล้ายกับเขตการค้าเสรีโดยเป็นการรวมกลุ่ม เพื่อขจัดมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปแบบภาษีศุลกากรและไม่ใช่รูปแบบภาษีศุลกากร ซึ่งเป็นการ ทําให้สินค้าระหว่างประเทศสมาชิกมีความเสรีมากขึ้น แต่การรวมกลุ่มจะมีระดับความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกจะมีการกําหนดนโยบายทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่มที่เป็นหนึ่งเดียวกันมาก ขึ้น โดยเฉพาะการกําหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน (Common External Tariff: CET) ตัวอย่างการรวมกลุ่มในรูปแบบสหภาพศุลกากร เช่น การรวมกลุ่มเป็นประชาคมเศรษฐกิจ ยุโรป (European Economic Community: EEC) ในช่วงปี ค.ศ. 1957 4. ตลาดร่วม (Common Market) เป็นการรวมกลุ่มที่มีความเข้มข้นกว่าระดับสหภาพศุลกากร ซึ่งนอกเหนือจากการให้ความร่วมมือทางการค้า อาทิ การยกเว้นมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปแบบ ภาษีศุลกากรและไม่ใช่รูปแบบภาษีศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงการที่ประเทศสมาชิกแต่ละ ประเทศต้องกําหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตราเดียวกัน ประเทศสมาชิกจะต้องให้ ความร่วมมือที่เพื่อผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิต เช่น ปัจจัยทุน ปัจจัยแรงงาน รวมถึงการ ส่งผ่านเทคโนโลยีระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันได้อย่างเสรี เพื่อให้การใช้ประโยชน์จากปัจจัยการผลิตนั้น มีประสิทธิภาพให้อย่างสูงสุด ตัวอย่าง การรวมกลุ่มในรูปแบบตลาดร่วม โดยประชาคมเศรษฐกิจยุโรป หรือ EEC ที่มีการรวมกลุ่มในปี ในช่วงปี ค.ศ. 1957 ได้พัฒนาความร่วมมือมาอย่างต่อเนื่องจนก้าวสู่ระดับ ตลาดร่วมได้สําเร็จในช่วงปี ค.ศ. 1970 และยังคงร่วมมือที่จะพัฒนาความสัมพันธ์เพื่อยกระดับการรวมกลุ่ม ต่อไป 5. สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) เป็นการรวมกลุ่มที่มีระดับสูงกว่าตลาดร่วม กล่าวคือ นอกจากความร่วมมือต่างๆ ที่มีอยู่ในระดับตลาดร่วมทั้งการให้ความร่วมมือทางการค้า และการให้ความ ร่วมมือที่เพื่อผลักดันให้เกิดการเคลื่อนย้ายปัจจัยการผลิตแล้ว ประเทศสมาชิกยังต้องปรับการดําเนิน นโยบายเศรษฐกิจ ทั้งนโยบายการเงิน และนโยบายการคลังให้มีความสอดคล้องกันหรือใช้นโยบายเดียวกัน อีกด้วย เพื่อให้การดําเนินนโยบายของกลุ่มประเทศสมาชิกมีความเป็นเอกภาพ ตัวอย่างการรวมกลุ่มใน รูปแบบสหภาพเศรษฐกิจ ในปัจจุบัน ได้แก่ สหภาพยุโรป (European Union) ซึ่งมีการกําหนดนโยบาย เศรษฐกิจร่วมกัน มีการเจรจาจัดทําความตกลงระหว่างประเทศในนามของสหภาพยุโรป รวมถึงมีการจัด ตั้งองค์กรกลางขึ้นมาเพื่อดําเนินนโยบายของสหภาพ เช่น คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commis- sion) ขณะที่กลุ่มประเทศในยุโรปที่มีการใช้เงินยูโรเป็นเงินตราสกุลเดียวกัน (Euro Area) ก็มีธนาคาร กลางยุโรป (European Central Bank) เป็นองค์กรกลางที่เป็นผู้กําหนดนโยบายการเงิน ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4-21 6. สหภาพการเมืองการปกครอง (Political Union) เป็นการรวมกลุ่มในระดับสูงสุด ซึ่งนอกจาก จะมีลักษณะของสหภาพเศรษฐกิจแล้ว ประเทศสมาชิกจะต้องยอมอยู่ภายใต้อํานาจอธิปไตยเดียวกัน สหภาพศุลกากร (Customs Union) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Arrangements: PTA) ตลาดร่วม (Common Market) สหภาพการเมือง สหภาพเศรษฐกิจ การปกครอง (Economic Union) (Political Union) ภาพที่ 4.1 ระดับของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ กิจกรรม 4.2.1 1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็นกี่ระดับ อะไรบ้าง 2. สหภาพศุลกากร (Customs Union) มีความแตกต่างจากเขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) อย่างไร แนวตอบกิจกรรม 4.2.1 1. การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็น 6 ระดับ ได้แก่ 1) สิทธิพิเศษทางการค้า (Preferential Trade Arrangements: PTA) 2) เขตการค้าเสรี (Free Trade Area: FTA) 3) สหภาพศุลกากร (Customs Union) 4) ตลาดร่วม (Common Market) 5) สหภาพเศรษฐกิจ (Economic Union) 6) สหภาพการเมืองการปกครอง (Political Union) ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศ 2. เขตการค้าเสรี (FTA) เป็นการรวมกลุ่มเพื่อยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปแบบ ภาษีศุลกากร รวมถึงยกเว้นมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่รูปแบบภาษีศุลกากรที่เคยมีการใช้กันระหว่าง ประเทศสมาชิกออกทั้งหมด อย่างไรก็ตาม แต่ละประเทศสมาชิกจะยังกําหนดนโยบายทางการค้ากับ ประเทศนอกกลุ่มตามที่ตัวเองเห็นสมควร ขณะที่สหภาพศุลกากร (Customs Union) จะเป็นการรวมกลุ่ม ที่มีระดับความเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากประเทศสมาชิกจะมีการกําหนดนโยบายทางการค้ากับประเทศนอก กลุ่มที่เป็นหนึ่งเดียวกันมากขึ้น โดยเฉพาะการกําหนดอัตราภาษีศุลกากรกับประเทศนอกกลุ่มในอัตรา เดียวกัน (Common External Tariff: CET) #4-22 เรื่องที่ 4.2.2 เรื่องที่ 4 การวิเคราะห์ผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทาง เศรษฐกิจ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจเป็นทางเลือกที่หลายประเทศใช้เป็นแนวทางการเปิดเสรีทางการค้าใน ปัจจุบัน เนื่องจากเป็นแนวทางที่ได้รับการสนับสนุนจากทั้งแนวคิดการค้าเสรี (Liberalist) และแนวคิด กีดกันทางการค้า (Protectionist) กล่าวคือ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจทําให้การค้าระหว่างประเทศสมาชิก มีความเป็นเสรีมากขึ้น และทําให้ประเทศสมาชิกได้รับประโยชน์จากปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้น ในขณะ เดียวกัน ยังคงมีการกีดกันทางการค้ากับประเทศที่อยู่นอกกลุ่ม ทั้งนี้ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจได้นําสู่ การเลือกปฏิบัติระหว่างประเทศที่เป็นสมาชิกกับประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิก และสามารถทําให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงของสวัสดิการทางเศรษฐกิจได้ในประเทศดังกล่าว ซึ่งทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์ผลต่อสวัสดิการทาง เศรษฐกิจของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนั้นจะมี 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีสหภาพศุลกากร (Theory of Customs Unions) และทฤษฎีดีที่สุดอันที่สอง (Theory of Second Best) ทฤษฎีสหภาพศุลกากร การค้าเสรีภายในกลุ่มจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนั้นสามารถทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของ ประเทศสมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ใน 2 ช่องทาง คือ 1) การสร้างปริมาณการค้า (Trade Creation) และ 2) การเบี่ยงเบนทิศทางการค้า (Trade Diversion) 1. การสร้างปริมาณการค้า หมายถึง ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศสมาชิกสามารถ นําเข้าสินค้าได้อย่างเสรีจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ภายในกลุ่มที่สามารถผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ํากว่า กล่าวคือ การผลิตสินค้าประเภทนั้นๆ ของประเทศสมาชิกหนึ่งในกลุ่มที่มีต้นทุนสูง จะถูกทดแทนด้วยสินค้า ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4-23 ประเภทเดียวกันจากประเทศสมาชิกที่มีต้นทุนการผลิตที่ต่ําที่สุด ภายใต้ข้อสมมติที่การใช้ทรัพยากรใน ประเทศของประเทศสมาชิกนั้นถูกใช้อย่างเต็มศักยภาพทั้งก่อนและหลังการรวมกลุ่ม ซึ่งการสร้างปริมาณ การค้าดังกล่าวจะช่วยเพิ่มสวัสดิการทางเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากประเทศต่างๆ จะมีการแบ่งงานกันทํา ตามความชํานาญในการผลิตและสอดคล้องกับความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ทําให้การจัดสรรทรัพยากร เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง ตารางที่ 4.1 การสร้างปริมาณการค้าภายใต้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ A I. Autarky ประเทศ ราคาของสินค้า X ในแต่ละประเทศ II. A เก็บภาษี 50% ราคาของสินค้า X ในประเทศ A III. A และ B รวมกลุ่ม ราคาของสินค้า X ในประเทศ A A 60 60 50 B 50 75 50 C 45 67.5 67.5 ตารางที่ 4.1 แสดงตัวอย่างการสร้างปริมาณการค้าภายใต้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ A ซึ่งสามารถที่จะประเมินผลต่อสวัสดิการเบื้องต้นผ่านการเปรียบเทียบลักษณะของแนวทางการค้าทั้ง 3 กรณี ดังนี้ ในกรณี (I.) จะเห็นได้ว่าราคาสินค้า X ของประเทศ A B และ C จะอยู่ที่ 60 50 และ 45 ตาม ลําดับ ซึ่งสะท้อนว่าประเทศ C มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตสินค้า X เนื่องจากมีต้นทุน การผลิตที่ต่ําสุด แต่เนื่องจากเป็นกรณีที่ไม่มีการค้าระหว่างประเทศ (Autarky) ประเทศ A จึงต้องบริโภค สินค้าในราคาที่ 60 ในทางกลับกัน หากมีการเปิดการค้าระหว่างประเทศ ประเทศ A จะไม่เลือกนําเข้า สินค้าจากประเทศ B แต่ประเทศ A ควรที่จะเลือกนําเข้าสินค้าจากประเทศ C จากราคาที่ต่ําที่สุดเพราะ จะทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าได้ในราคาที่ต่ําลง ในกรณี (II.) ประเทศ A เลือกที่จะทําการค้าระหว่างประเทศ แต่ยังใช้นโยบายกีดกันทางการค้า กับสินค้า X เนื่องจากต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ โดยประเทศ A เลือกที่จะกําหนดอัตราภาษี นําเข้าสินค้า X ที่ 50% ราคาสินค้า X ที่ประเทศ A ได้รับจากประเทศตัวเอง ประเทศ B และประเทศ C จะอยู่ที่ 60 75 และ 67.5 ตามลําดับ กล่าวคือ ประเทศ A จะไม่มีการนําเข้าสินค้าจากประเทศ B และ C เพิ่มขึ้นเนื่องจากราคานําเข้าสินค้าจากประเทศ B และประเทศ C ที่บวกอัตราภาษีแล้วยังคงมีระดับสูง กว่าต้นทุนการผลิตของประเทศ A อยู่เล็กน้อย ซึ่งการกําหนดอัตราภาษีดังกล่าวจะทําให้การผลิตสินค้า X ของประเทศ A นั้นไม่ได้รับผลกระทบ 4-24 ธุรกิจและการเงินระหว่างประเทศ ในกรณี (III) หากประเทศ A และประเทศ B มีความตกลงที่จะรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและเปิด เสรีทางการค้า ราคาสินค้า X ของประเทศ A และ B จะอยู่ที่ 50 เนื่องจากประเทศ A และประเทศ B เป็นประเทศสมาชิกกลุ่มเดียวกันจึงมีการยกเลิกอัตราภาษีศุลกากรระหว่างกัน แต่ราคาสินค้าที่ประเทศ A จะต้องนําเข้าจากประเทศ C จะยังคงอยู่ที่ 67.5 เนื่องจากประเทศ A ยังคงเก็บภาษีศุลกากรจาก C ซึ่ง เป็นประเทศนอกกลุ่มสมาชิก ทั้งนี้ ปริมาณการค้าระหว่างประเทศ A และประเทศ B จะเพิ่มขึ้นอย่าง ชัดเจน เนื่องจากราคาสินค้า X ที่ 50 ของประเทศ B นั้นต่ํากว่าต้นทุนการผลิตเดิมของประเทศ A ที่ 60 ดังนั้นการผลิตสินค้า X ของประเทศ A ที่มีต้นทุนมากกว่า 50 จะปรับลดลงจนเหลืออยู่เฉพาะผู้ผลิตที่มี ต้นทุนการผลิตน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 และการผลิตที่ลดลงนั้นจะถูกทดแทนด้วยการนําเข้าสินค้าจะ ประเทศ B ทั้งนี้ การวิเคราะห์จุดดุลยภาพเพื่อประเมินผลกระทบของการสร้างปริมาณการค้าต่อสวัสดิการ ทางเศรษฐกิจจะสามารถแสดงได้ดังภาพที่ 4.2 ราคา (P) PA PB PC D S a b C ปริมาณ (Q) S2 S1 = D1 ภาพที่ 4.2 การสร้างปริมาณการค้าภายใต้การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของประเทศ A จากภาพที่ 4.2 การวิเคราะห์จุดดุลยภาพเพื่อประเมินผลกระทบของการสร้างปริมาณการค้าต่อ สวัสดิการทางเศรษฐกิจสามารถสรุปประเด็นสําคัญได้ดังนี้ (1) ในกรณีที่ประเทศ A ไม่ได้ทําการค้าระหว่างประเทศ (Autarky) การผลิตและอุปสงค์ของ สินค้า X ของประเทศ A จะอยู่ที่ S = D และราคาของสินค้า X ในประเทศ A จะอยู่ที่ PA (หรือเท่ากับ 60 ดังตารางที่ 4.1) ความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ 4-25 (2) ในกรณีที่ประเทศ A เลือกที่จะทําการค้าระหว่างประเทศ แต่ยังใช้นโยบายกีดกันทางการค้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมที่อาจสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน โดยประเทศ A เลือกที่กําหนดอัตรา ภาษีบนสินค้า X จากประเทศ B และ C ที่อัตรา T = TB - TC (หรือเท่ากับ 50% ดังตารางที่ 4.1) ดังนั้นราคาของสินค้า X ที่ประเทศ A นําเข้าจากประเทศ B และประเทศ C จะอยู่ที่ PP และ P ลําดับ โดยขนาดอัตราภาษีสามารถแสดงได้ด้วยสมการดังนี้ และ TB = (PP – PB)/PB - TC = (PS - PC)/PC T = (P - P3)/PB = (P1 - PC)/PC ตาม (3) ในกรณีที่ประเทศ A รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศ B อัตราภาษี สินค้านําเข้าที่ประเทศ A เก็บกับประเทศ B จะเท่ากับศูนย์ (TB = 0) ขณะที่อัตราภาษีสินค้านําเข้าที่ ประเทศ A เก็บกับประเทศ C จะอยู่ที่อัตราเดิม (T = T) ขณะที่ราคาสินค้า X ในประเทศ A ที่นําเข้า จากประเทศ B และประเทศ C จะอยู่ที่ PP และ P ตามลําดับ เนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าระหว่าง ประเทศ A และประเทศ B ทําให้ PB 4 PA ประเทศ A จึงมี มาอยู่ที่ D 2 1) < อุปสงค์ของการบริโภคที่เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าที่ต่ําลง โดยการบริโภคจะเพิ่มขึ้นจาก D 2) การผลิตที่ลดลงจากการสูญเสียความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมในประเทศ โดยการผลิตสินค้าจะปรับลดลงจาก S มาอยู่ที่ S, B B 3) ประเทศ A จะมีการนําเข้าสินค้าจากประเทศ B เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ไม่มีการนําเข้าเลย เนื่องจากเดิมที่มีการกําหนดอัตราภาษีสินค้านําเข้านั้นทําให้ P > PA แต่เมื่อทั้งสองประเทศเปิดเสรี ทางการค้า ราคาสินค้าจากประเทศ B จะปรับลดลงจาก PP มาอยู่ P และจากข้อเท็จจริงที่ P < PA แล้ว ปริมาณการนําเข้าสินค้าจากประเทศ B ของประเทศ A จะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ปริมาณเท่ากับ D, - S, การเปิดการค้าเสรีระหว่างสองประเทศจะทําให้ปริมาณการค้าถูกสร้างขึ้น ซึ่งจะสามารถสรุป ผลต่อสวัสดิการในแต่ละภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจได้ดังนี้ ทั้งนี้ 1) ผลต่อผู้บริโภค จะเป็นผลบวกเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าจะทําให้ผู้บริโภคสามารถ บริโภคสินค้าได้ในราคาที่ต่ําลงและในปริมาณที่เพิ่มขึ้น โดยผลประโยชน์ส่วนเกินผู้บริโภค (Consumer Surplus) ที่ปรับเพิ่มขึ้นจะเท่ากับพื้นที่ a+b+c 2) ผลต่อผู้ผลิตในประเทศ จะเป็นผลลบเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าจะทําให้ผู้ผลิตสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและทําให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้น้อยลงและสามารถขายสินค้าได้ ในราคาที่ต่ําลง ซึ่งผลประโยชน์ส่วนเกินผู้ผลิต (Producer Surplus) ที่ปรับลดลงจะเท่ากับพื้นที่ 4 3) ผลต่อภาครัฐ ภาครัฐจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเปิดการค้าเสรี เนื่องจากการ กําหนดอัตราภาษีเดิมของภาครัฐนั้นทําให้ PP > P-> PA ประเทศ A จึงไม่มีการนําเข้าสินค้าภายใต้ การกําหนดอัตราภาษีดังกล่าว จึงทําให้ภาครัฐไม่มีรายรับจากการจัดเก็บภาษีเดิม 4) ผลต่อสวัสดิการประเทศ จะเป็นผลบวกซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสองส่วนคือ (1) ประสิทธิภาพการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ 6 เนื่องจากผู้ผลิตในประเทศที่ยังสมารถผลิต ได้จะเป็นผู้ผลิตที่มีต้นทุนการผลิตต่ําและสามารถแข่งขันกับสินค้านําเข้าได้ และ (2) ประสิทธิภาพการ บริโภคที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ 6 เนื่องจากผู้บริโภคสามารถบริโภคสินค้าได้ในราคาที่ต่ําลง กล่าว คือ หากการเปิดเสรีทางการค้าทําให้ปริมาณการค้าปรับเพิ่มขึ้น สวัสดิการทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับจะ ปรับเพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยสวัสดิการประเทศที่เพิ่มขึ้นสุทธิจะเท่ากับพื้นที่ b+c 2. การเบี่ยงเบนทิศทางการค้า การเบี่ยงเบนทิศทางการค้า หมายถึง การที่ประเทศสมาชิกเปลี่ยน การนําเข้าจากประเทศนอกกลุ่มซึ่งมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ต่ํากว่า มานําเข้าจากประเทศสมาชิกอื่นๆภายในกลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงกว่า ซึ่งเป็นผลจากการเลือกปฏิบัติในเก็บภาษีศุลกากรที่การนํา เข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกนั้นจะไม่ถูกเก็บภาษี แต่การนําเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกจะถูกเก็บ ภาษี ทั้งนี้ การเบี่ยงเบนทิศทางการค้าจะส่งผลต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจได้สองกรณี คือ 1) การเบี่ยงเบน ทิศทางการค้าที่ทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจปรับลดลง และ 2) การเบี่ยงเบนทิศทางการค้าที่ทําให้ สวัสดิการทางเศรษฐกิจปรับเพิ่มขึ้น 1) การเบี่ยงเบนทิศทางการค้าที่ทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจปรับลดลง การวิเคราะห์ จุดดุลยภาพเพื่อประเมินผลกระทบต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจะสามารถแสดงได้ยังภาพที่ 4.3 (1) ในกรณีตั้งต้นที่ประเทศ A มีการทําการค้าระหว่างประเทศกับประเทศ B และ ประเทศ C และประเทศ A มีการกําหนดอัตราภาษีบนสินค้า X จากประเทศ B และประเทศ C ที่อัตรา T = TB = TC ดังนั้นราคาของสินค้า X ที่ประเทศ A นําเข้าจากประเทศ B และประเทศ C จะอยู่ที่ และ P ตามลําดับ โดยขนาดอัตราภาษีสามารถแสดงได้ด้วยสมการดังนี้ และ TB = (PB - PB)/PB .C TC = (PC - PC)/PC T′ = (P2 - P3)/p3 = (Po - PC)/P© ทั้งนี้ จากการที่ราคาสินค้านําเข้าจากประเทศ C นั้นอยู่ในระดับต่ํากว่าราคาสินค้านํา เข้าจากประเทศ B หรือ P < P ประเทศ A จะเลือกนําเข้าสินค้าจากประเทศ C และไม่มีการนําเข้า สินค้าจากประเทศ B โดยปริมาณการนําเข้าสินค้าจากประเทศ C ของประเทศ A จะอยู่ที่ D - S, โดย ภาครัฐจะมีรายได้จากการจัดเก็บภาษีเท่ากับพื้นที่ cre หรืออัตราภาษีคูณด้วยปริมาณการนําเข้า (2) ในกรณีที่ประเทศ A รวมกลุ่มทางเศรษฐกิจและเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศ B อัตราภาษีสินค้านําเข้าที่ประเทศ A เก็บกับประเทศ B จะเท่ากับศูนย์ (TB = 0) ขณะที่อัตราภาษีสินค้า นําเข้าที่ประเทศ A เก็บกับประเทศ C จะอยู่ที่อัตราเดิม (TC - T) ขณะที่ราคาสินค้า X ในประเทศ A ที่นําเข้าจากประเทศ B และประเทศ C จะอยู่ที่ PB P ตามลําดับ ทั้งนี้ การเปิดเสรีทางการค้า ระหว่างประเทศ A และประเทศ B ทําให้ราคาสินค้าของประเทศ B ที่ไม่รวมภาษีนั้นถูกกว่าราคาสินค้า และ ของประเทศ C ที่รวมภาษี ดังนั้นประเทศ A จึงหันไปนําเข้าสินค้าทั้งหมดจากประเทศ B แทนการนําเข้า สินค้าจากประเทศ C ซึ่งปริมาณการนําเข้าสินค้าของประเทศ A จากประเทศ B จะเพิ่มขึ้นจาก D - S มาเป็น D. - S. ทั้งนี้เนื่องจากราคาสินค้าที่ไม่ถูกบิดเบือนด้วยภาษีของประเทศ C ยังคงต่ํากว่าราคาสินค้าของ ประเทศ B หรือ PC, PB การค้าของประเทศ A จึงถูกเบี่ยงเบนทิศทางจากประเทศนอกกลุ่มซึ่งมีต้นทุน การผลิตสินค้าที่ต่ํากว่าไปยังประเทศในกลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตสินค้าที่สูงกว่า ซึ่งจะสามารถสรุปผลต่อสวัสดิการในแต่ละภาคส่วนในระบบเศรษฐกิจได้ดังนี้ 1) ผลต่อผู้บริโภค จะเป็นผลบวกเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าจะทําให้ผู้บริโภคสามารถ บริโภคสินค้าได้ในราคาที่ต่ําลงและในปริมาณที่เพิ่มขึ้น โดยผลประโยชน์ส่วนเกินผู้บริโภค (Consumer Surplus) ที่ปรับเพิ่มขึ้นจะเท่ากับพื้นที่ a+b+c+d 2) ผลต่อผู้ผลิตในประเทศ จะเป็นผลลบเนื่องจากการเปิดเสรีทางการค้าจะทําให้ผู้ผลิตสูญเสียความสามารถในการแข่งขันและทําให้ผู้ผลิตสามารถผลิตสินค้าได้น้อยลงและสามารถขายสินค้าได้ ในราคาที่ต่ําลง ซึ่งผลประโยชน์ส่วนเกินผู้ผลิตที่ (Producer Surplus) ปรับลดลงจะเท่ากับพื้นที่ 3 3) ผลต่อภาครัฐ ภาครัฐจะสูญเสียรายได้จากการเก็บภาษีนําเข้าทั้งหมด ซึ่งผลลบที่ภาครัฐ ได้รับจะถูกส่งผ่านไปยังภาคส่วนอื่นในระบบเศรษฐกิจในที่สุดตามการใช้จ่ายของภาครัฐที่น้อยลงตามรายได้ที่หายไป 4) ผลต่อสวัสดิการประเทศ จะเป็นผลลบซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นสามส่วนคือ (1) ประสิทธิภาพการผลิตที่ลดลง ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ 4 (2) ประสิทธิภาพการบริโภคที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งจะ เท่ากับพื้นที่ a+b+c+d และ (3) ผลลบจากรายได้ภาครัฐที่ลดลง ซึ่งจะเท่ากับพื้นที่ C+e กล่าวคือผลสุทธิ จะเท่ากับพื้นที่ b+d-e 2. การเบี่ยงเบนทิศทางการค้าที่ทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจปรับเพิ่มขึ้น การวิเคราะห์จุด ดุลยภาพเพื่อประเมินผลกระทบต่อสวัสดิการทางเศรษฐกิจจะสามารถแสดงได้ยังภาพที่ 4.4 โดยปัจจัย สําคัญจะมาจากผลของราคาที่ถูกบิดเบือนด้วยอัตราภาษี กล่าวคือ หาก PB PC และ P อยู่ในระดับที่ ใกล้เคียงกัน การบิดเบือนจากผลของภาษีจะมีน้อย ซึ่งจะทําให้พื้นที่ b+d มีขนาดใหญ่ขึ้น และพื้นที่ 6 มี ขนาดเล็กลง และผลสุทธิของสวัสดิการทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับจากการเปิดเสรีทางการค้าจะเป็นผลบวก ทฤษฎีดีที่สุดอันดับสอง ทฤษฎีดีที่สุดอันดับสองถูกพัฒนาโดย R. G. Lipsey และ Kelvin Lancaster ในปี ค.ศ. 1956 เพื่อตอบโจทย์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเงื่อนไขดุลยภาพ (Optimum Condition) นั้นไม่สามารถเกิดขึ้นได้ จริงในแบบจําลองทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ โดยปกติแล้วการวิเคราะห์หาจุดดุลยภาพเพื่อตอบคําถามทาง เศรษฐศาสตร์นั้นมักจะดําเนินการภายใต้เงื่อนไขต่างๆ อาทิ รูปแบบทางการค้าจะอยู่ในรูปแบบตลาดแข่งขัน สมบูรณ์ (Perfectly Competitive Market) ผู้ซื้อและผู้ขายมีข้อมูลข่าวสารด้านราคา ปริมาณ คุณภาพอย่างครบถ้วนและสมบูรณ์ (Perfect Information) เป็นต้น อย่างไรก็ดี Lipsey และ Lancaster พบว่า แม้การบรรลุเงื่อนไขทุกอย่างที่จะนําไปสู่ภาวะดีสุด (First Best Equilibria) นั้นเป็นไปไม่ได้ แต่การ พยายามบรรลุเงื่อนไขให้มากที่สุดอาจนําไปสู่ภาวะดีที่สุดที่รองลงมา (Second Best Equilibria) ดุลยภาพดีที่สุดและดุลยภาพดีที่สุดอันดับสอง (First Best vs Second Best Equilibria) จากนิยามของ Lipsey และ Lancaster นั้น ดุลยภาพดีที่สุดจะเกิดขึ้นได้กรณีที่เศรษฐกิจนั้นอยู่ ในภาวะดีที่สุดและไม่มีแนวทางที่จะยกระดับประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจให้ดีขึ้นกว่าเดิม ตัวอย่างเช่นภายใต้ระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ มีผู้ซื้อและผู้ขายจํานวนมากทําให้ไม่มีฝ่ายใดมีอํานาจเด็ดขาด ในตลาด กลไกตลาดไม่ถูกบิดเบือน โดยผู้บริโภคมุ่งเน้นที่จะแสวงหาความพึงพอใจสูงสุด ขณะที่ภาคการ ผลิตอุตสาหกรรมมุ่งเน้นที่จะทํากําไรสูงสุด ภายใต้ภาวการณ์ดังกล่าวนโยบายที่เหมาะสมที่สุดของรัฐบาล คือ Laissez-Faire หรือการปล่อยให้กลไกตลาดจัดการตัวเอง ซึ่งหากมองในมุมมองของการค้าระหว่าง ประเทศนโยบายที่ดีที่สุดของภาครัฐคือการเปิดเสรีทางการค้า เนื่องจากการใช้นโยบายกีดกันทางการค้า ใดๆ นั้นจะส่งผลให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับปรับลดลงจากเดิม อย่างไรก็ตาม ระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสมบูรณ์เป็นสิ่งที่อยู่ในอุดมคติของนักเศรษฐศาสตร์ แต่ในความเป็นจริงแล้วระบบเศรษฐกิจมักมีจุดตั้งต้นจากกลไกตลาดที่ถูกบิดเบือนและมีตลาดที่มีความไม่ สมบูรณ์แบบอยู่เสมอ ซึ่งหากมองในมุมมองของการค้าระหว่างประเทศนโยบายจุดตั้งต้น (Initial Condi tion) ของระบบเศรษฐกิจนั้นไม่ได้อยู่ที่การเปิดเสรีทางการค้า แต่อยู่ที่การมีการกีดกันทางการค้า ซึ่งหมายความว่าการดําเนินนโยบายของภาครัฐจะสามารถช่วยยกระดับประสิทธิภาพในระบบเศรษฐกิจให้ดี ขึ้นกว่าเดิมได้ ถึงแม้ว่าการดําเนินนโยบายดังกล่าวจะไม่สามารถแก้ไขข้อบกพร่องในระบบเศรษฐกิจทั้งหมดจนทําให้เศรษฐกิจกลับไปสู่ดุลยภาพที่ดีที่สุดได้ แต่หากนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายที่สามารถแก้ปัญหา ในระบบเศรษฐกิจได้มากที่สุด ก็จะสามารถทําให้เศรษฐกิจกลับไปสู่ดุลยภาพดีที่สุดที่รองลงมา ซึ่งจะช่วย ให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจที่ประเทศได้รับปรับดีขึ้นนโยบายดีที่สุดและนโยบายดีที่สุดอันดับสอง (First Best vs Second Best Policy) จากระบบเศรษฐกิจที่มีจุดตั้งต้นที่ความไม่สมบูรณ์และมีการบิดเบือนของกลไกตลาด การเข้ามา ดําเนินนโยบายของภาครัฐจึงมีความจําเป็น และในหลายๆ กรณีจากที่ศึกษามาข้างต้นจะพบว่าการดําเนิน นโยบายทางการค้าที่เหมาะสมจะสามารถช่วยยกระดับสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้นได้ อย่างไรก็ตาม การดําเนินนโยบายของทางภาครัฐนั้นสามารถทําได้หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นจึงนําไปสู่ คําถามว่าการใช้นโยบายทางการค้าเพื่อลดทอนความไม่สมบูรณ์ของระบบเศรษฐกิจและแก้ไขการบิดเบือนของกลไกตลาดนั้นเป็นนโยบายที่เหมาะสมที่สุดหรือไม่ จากการศึกษาของ Jagdish N. Bhagwati ในปี ค.ศ. 1971 นั้นพบว่าการดําเนินนโยบายทาง การค้าที่เหมาะสมจะช่วยยกระดับสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น หากกลไกตลาดของประเทศ นั้นมีการบิดเบือนมาแล้วก่อนหน้าและนโยบายทางการค้าที่ดําเนินการสามารถลดทอนปัญหาความบิดเบือนนั้นได้ อย่างไรก็ตาม Bhagwati พบว่านโยบายทางการค้าเป็นเพียงนโยบายดีที่สุดอันดับสอง (Second Best Policy) ในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยนโยบายดีที่สุด (First Best Policy) คือการใช้นโยบาย ภายในประเทศเพื่อแก้ปัญหาให้ตรงจุด ตัวอย่างจากตารางที่ 4.1 เช่น ในกรณี (1.) จะเห็นได้ว่าราคาสินค้า X ของประเทศ C จะอยู่ในระดับต่ําที่สุด ซึ่งสะท้อนว่า ประเทศ C มีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบในการผลิตสินค้า X เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ต่ําสุด ซึ่ง หากประเทศ A ดําเนินนโยบายให้ประเทศนําเข้าสินค้าจากประเทศ C ได้อย่างเสรีดังในกรณี (III.) สวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศ A จะเพิ่มขึ้นจากการบริโภคสินค้าได้ในราคาที่ต่ําลง อย่างไรก็ตาม ทางเลือกนโยบายดังกล่าวจะส่งผลลบต่อผู้ผลิตในประเทศที่สูญเสียความสามารถในการแข่งขัน ดังนั้น หากปัญหาตั้งต้นของเศรษฐกิจคือต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป นโยบายที่ดีที่สุดคือนโยบายที่จะช่วยให้ต้นทุน การผลิตนั้นปรับลดลง เช่น การพัฒนาผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมผ่านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้าน เทคโนโลยี เป็นต้น ในกรณี (2.) ประเทศ A ต้องการปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ จึงเลือกที่จะกําหนดอัตราภาษี นําเข้าสินค้า ซึ่งหากจุดตั้งต้นของระบบเศรษฐกิจคือการค้าเสรีแล้วนั้นการดําเนินนโยบายดังกล่าวจะทําให้ เศรษฐกิจของประเทศ A ขยับจากจุดดุลยภาพที่ดีที่สุดที่ควรจะนําเข้าจากประเทศ C ไปอยู่ที่จุดดุลยภาพ ดีรองลงมา เนื่องจากภาครัฐเป็นผู้ที่ทําให้กลไกตลาดถูกบิดเบือน ในทางกลับกัน หากการกําหนดอัตรา ภาษีนําเข้าคือจุดตั้งต้น การดําเนินนโยบายการค้าเสรีก็ยังคงถือเป็นนโยบายดีที่สุดอันดับสองเช่นกันเนื่องจากนโยบายดังกล่าวทําได้เพียงลดการบิดเบือนที่มีอยู่ก่อนหน้า แต่ไม่ได้แก้ปัญหาที่จุดตั้งต้น กิจกรรม 4.2.2 1. ทฤษฎีสหภาพศุลกากร (Theory of Customs Unions) อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของ สวัสดิการทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างไร 2. การสร้างปริมาณการค้า (Trade Creation) แตกต่างจากการเบี่ยงเบนทิศทางการค้า (Trade Diversion) อย่างไร 3. ทฤษฎีดีที่สุดอันที่สอง (Theory of Second Best) อธิบายถึงการเปลี่ยนแปลงของสวัสดิการ ทางเศรษฐกิจจากการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจอย่างไร แนวตอบกิจกรรม 4.2.2 1. ทฤษฎีสหภาพศุลกากร (Theory of Customs Unions) ระบุว่าการค้าเสรีภายในกลุ่มจาก การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจนั้นสามารถทําให้สวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกเกิดการเปลี่ยนแปลง ได้ใน 2 ช่องทาง คือ 1) การสร้างปริมาณการค้า และ 2) การเบี่ยงเบนทิศทางการค้า 2. การสร้างปริมาณการค้า หมายถึง ปริมาณการค้าที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศสมาชิกสามารถ นําเข้าสินค้าได้อย่างเสรีจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ภายในกลุ่มที่สามารถผลิตสินค้าได้ในต้นทุนที่ต่ํากว่า ขณะที่ การเบี่ยงเบนทิศทางการค้า หมายถึง การที่ประเทศสมาชิกเปลี่ยนการนําเข้าจากประเทศนอกกลุ่มซึ่งมีต้นทุนการผลิตสินค้าที่ต่ํากว่า มานําเข้าจากประเทศสมาชิกอื่น ๆ ภายในกลุ่มที่มีต้นทุนการผลิตสินค้า ที่สูงกว่า ซึ่งเป็นผลจากการเลือกปฏิบัติในเก็บภาษีศุลกากรที่การนําเข้าสินค้าจากประเทศสมาชิกนั้นจะไม่ ถูกเก็บภาษี แต่การนําเข้าสินค้าจากประเทศที่ไม่ใช่สมาชิกจะถูกเก็บภาษี 3. ทฤษฎีดีที่สุดอันที่สอง (Theory of Second Best) ระบุว่าการดําเนินนโยบายทางการค้าที่ เหมาะสมจะช่วยยกระดับสวัสดิการทางเศรษฐกิจของประเทศให้ดีขึ้น หากกลไกตลาดของประเทศนั้นมีการ บิดเบือนมาแล้วก่อนหน้าและนโยบายทางการค้าที่ดําเนินการสามารถลดทอนปัญหาความบิดเบือนนั้นได้ อย่างไรก็ตาม นโยบายทางการค้าเป็นเพียงนโยบายที่ดีที่สุดอันดับสอง (Second Best Policy) ในการ แก้ปัญหาดังกล่าว โดยนโยบายที่ดีที่สุด (First Best Policy) คือการใช้นโยบายภายในประเทศเพื่อแก้ ปัญหาให้ตรงจุด เช่น หากปัญหาตั้งต้นของเศรษฐกิจคือต้นทุนการผลิตที่สูงเกินไป นโยบายที่ดีที่สุดคือ นโยบายที่จะช่วยให้ต้นทุนการผลิตนั้นปรับลดลง เช่น การพัฒนาผลิตภาพของภาคอุตสาหกรรมผ่านการ ส่งเสริมให้มีการพัฒนาด้านเทคโนโลยี เป็นต้น #4-31 เรื่องที่ 4.2.3 การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมีแรงจูงใจมาจากการที่กลุ่มประเทศได้ร่วมมือกันทําข้อตกลงเพื่อผล ประโยชน์ทางเศรษฐกิจของสมาชิกในกลุ่ม ผ่านการลดอุปสรรคทางด้านการค้าระหว่างกัน ทั้งด้านภาษี และไม่ใช่ภาษีศุลกากร การกําหนดนโยบายร่วมกัน และอํานาจในการต่อรองทางการค้าระหว่างประเทศที่ เพิ่มขึ้น ซึ่งการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสามารถแบ่งได้เป็นหลายลําดับขั้น ตั้งแต่การให้สิทธิพิเศษทาง การค้า ไปจนถึงสหภาพการเมืองการปกครองตามที่เคยกล่าวไว้ข้างต้น ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระดับความร่วมมือ ที่กลุ่มประเทศนั้นๆ ได้ตกลงร่วมกัน โดยที่ผ่านมามีการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่สําคัญ เช่น สหภาพยุโรป (European Union) และประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) สหภาพยุโรป ในอดีตประเทศในทวีปยุโรปมีความขัดแย้งกันบ่อยครั้ง ทั้งด้านการเมืองและการแก่งแย่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแก่งแย่งทรัพยากรถ่านหินและเหล็กที่เป็นวัตถุดิบที่เป็นยุทธปัจจัยสําคัญ ซึ่ง ความขัดแย้งดังกล่าวเป็นสาเหตุสําคัญที่นําไปสู่การเกิดสงครามในหลายๆ ครั้ง การรวมกลุ่มของสหภาพ ยุโรปจึงเป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว โดยการรวมกลุ่มจะช่วยเพิ่มความร่วมมือ ระหว่างประเทศ ลดความขัดแย้ง และช่วยให้ภาวะสงครามไม่เกิดขึ้นดังเช่นในอดีต ทั้งนี้ สหภาพยุโรปเป็นการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจมีวิวัฒนาการมายาวนานและเป็นการรวมกลุ่ม ทางเศรษฐกิจที่ประสบความสําเร็จในหลายๆ ด้าน ทั้งในด้าน 1) จํานวนสมาชิกที่เพิ่มขึ้นอย่างเนื่อง ซึ่ง เพิ่มจากประเทศสมาชิกริเริ่มที่จํานวน 6 ประเทศมาอยู่ที่จํานวนสมาชิกทั้งหมด 27 ประเทศในปัจจุบัน และ 2) ระดับความร่วมมือที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากจุดตั้งต้นที่เริ่มจากประชาคมถ่านหินและ เหล็กกล้ายุโรปและยกระดับมาเป็นสหภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน พัฒนาการที่สําคัญ การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจของสหภาพยุโรปมีพัฒนาการที่สําคัญ 3 ช่วง ได้แก่ 1. ประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป สหภาพยุโรปแต่เดิมนั้นมีประเทศที่ร่วมก่อตั้งทั้งหมด 6 ประเทศ ได้แก่ เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักเซมเบิร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี และอิตาลี โดยในปี ค.ศ. 1951 กลุ่มประเทศดังกล่าวได้ร่วมกันก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้ายุโรป (European Coal and Steel Community: ECSC) โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อลดความขัดแย้งจากปัญหาการช่วงชิงวัตถุดิบและ ทรัพยากร รวมถึงเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ 2. ประชาคมเศรษฐกิจยุโรป ต่อมาในปี ค.ศ. 1957 กลุ่มประเทศสมาชิก ECSC ได้มีการลงนาม ในสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) เพื่อก่อตั้งประชาคมเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Community: EEC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ซึ่งการพัฒนาด้านเศรษฐกิจนั้นจําไปสู่ความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นประชาชนภายในกลุ่ม โดยรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจในช่วง เวลาดังกล่าวนั้นมีการดําเนินการที่สําคัญ เช่น 1) การลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม 2) การรวมมือกันของประเทศในกลุ่มสมาชิกเพื่อการขจัดอุปสรรคทางการค้ากับประเทศนอกกลุ่ม 3) ความร่วมมือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อรักษาระดับดุลการค้าและการขยายตัวทาง เศรษฐกิจของประเทศในกลุ่มสมาชิก ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 1973 มีประเทศที่เข้าร่วม EEC เพิ่มเติมอีก 3 ประเทศ ประกอบด้วย สหราช อาณาจักร ไอร์แลนด์ และเดนมาร์ก ต่อมาในปี ค.ศ. 1981 มีประเทศเข้าร่วมเพิ่มเติมหนึ่งประเทศ ได้แก่ กรีซ และในปี ค.ศ. 1986 ประเทศที่เข้าร่วมเพิ่มเติมอีก 2 ประเทศ ประกอบด้วย สเปน และโปรตุเกส โดย ในปี ค.ศ. 1986 EEC มีสมาชิกทั้งหมด 12 ประเทศ 3. สหภาพยุโรป ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้มีวิวัฒนาการมาจนถึงขั้นตอนของการเป็นสหภาพ ทางเศรษฐกิจและมีชื่อเป็นทางการว่า สหภาพยุโรป (European Union: EU) ภายหลังจากที่ได้มี พัฒนาการเป็นตลาดยุโรปเดียว (Single European Market) ในปี ค.ศ. 1992 และในปีเดียวกัน ได้มีการ ลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ (The Treaty of Maastricht) ประกาศรวมกลุ่มเป็นสหภาพยุโรปเพื่อ ครอบคลุมความร่วมมือทั้งด้านการเงิน การเมือง และการทหาร โดยเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา และมีการรับประเทศสมาชิกเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง โดยในปี ค.ศ. 1995 ออสเตรีย สวีเดน และฟินแลนด์ได้เข้าเป็นสมาชิก EU ต่อมาในปี ค.ศ. 2004 ได้รับประเทศสมาชิก เพิ่มอีก 10 ประเทศ คือ สาธารณรัฐเช็ก เอสโตเนีย ฮังการี ลัตเวีย ลิธัวเนีย โปแลนด์ สโลวีเนีย สโลวาเกีย ไซปรัส และมอลตา ปี ค.ศ. 2007 มีประเทศสมาชิกเพิ่มอีก 2 ประเทศ คือ บัลแกเรีย และโรมาเนีย ประเทศความร่วมมือทางการค้าระหว่างประเทศ และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจสมาชิกล่าสุด คือ โครเอเชีย ซึ่งเข้าเป็นสมาชิกในปี ค.ศ. 2013 ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2021) สมาชิก สหภาพยุโรปหรือ EU มีจํานวนรวมทั้งหมด 27 ประเทศ หลังจากที่สหราชอาณาจักรได้มีการลงประชามติ เพื่อถอนตัวออกสหภาพยุโรปในปี ค.ศ. 2016 และมีการถอนตัวอย่างเป็นทางการในปี ค.ศ. 2020 อย่างไร ก็ตาม สหภาพยุโรปยังถือเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นเป็นกลุ่มแรกภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นก ลุ่มที่มีวิวัฒนาการมายาวนาน และเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ประสบความสําเร็จสูงสุด การดําเนินนโยบาย สหภาพยุโรปได้ดําเนินนโยบายทางเศรษฐกิจที่สําคัญร่วมกันหลายๆ ด้าน เช่น นโยบายการค้า นโยบายเกษตร และนโยบายการเงิน ซึ่งมีรายละเอียดที่สําคัญดังนี้ 1. นโยบายการค้า ได้เริ่มมีการยกเลิกภาษีศุลกากร ยกเลิกมาตรการจํากัดปริมาณสินค้า รวมทั้ง ค่าธรรมเนียมที่เก็บจากการนําเข้าและส่งออก และมีการปรับพิกัดอัตราศุลกากรระหว่างประเทศสมาชิกให้ เป็นอัตราเดียวกันเพื่อเป็นสหภาพศุลกากรได้เสร็จสิ้นใน ค.ศ. 1969 ต่อมาใน ค.ศ. 1985 ได้มีการลงนาม ในกฎหมายยุโรปเดียว (Single European Act) เพื่อยกระดับการรวมกลุ่มจากสหภาพศุลกากรให้เป็น ตลาดร่วมโดยสมบูรณ์หรือที่เรียกว่า ตลาดยุโรปเดียว (Single European Market) โดยมุ่งขจัดปัญหา อุปสรรคทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ 1) อุปสรรคด้านกายภาพ (Physical Barriers) ที่เป็นอุปสรรคด้านการเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านพรมแดน 2) อุปสรรคด้านการคลัง (Fiscal Barriers) เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต 3) อุปสรรคด้านเทคนิค (Technical Barriers) โดยเฉพาะประเด็นด้านความแตกต่างทาง กฎหมายของแต่ละประเทศ เช่น การกําหนดมาตรฐานสินค้าที่ต้องปรับเปลี่ยนมาเป็นมาตรฐานกลางของ สหภาพยุโรป 2. นโยบายเกษตร การดําเนินนโยบายเกษตรร่วม (Common Agricultural Policy: CAP) ของสหภาพยุโรปมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประกันรายได้ให้แก่เกษตรกรของประเทศสมาชิกภายในกลุ่ม 2) ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 3) รักษาเสถียรภาพด้านราคา และเป็นการประกันว่าจะมีสินค้าเพียงพอต่อการบริโภคใน ราคาที่เหมาะสม โดยมีหลักการที่สําคัญคือให้มีการค้าสินค้าเกษตรแบบเสรีภายในกลุ่ม แต่มีการเก็บภาษีจากสินค้า นําเข้าเพื่อไม่ให้มีสินค้านําเข้าเข้ามาแข่งขันกับสินค้าของประเทศในกลุ่ม รวมถึงมีการประกันสินค้าเกษตร ให้อยู่ในระดับสูงกว่าราคาในตลาดโลกเพื่อประกันรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งทําให้ภาครัฐต้องแบกรับภาระค่า ใช้จ่ายเงินอุดหนุนเกษตรกรปีละจํานวนมาก อย่างไรก็ตาม ภายหลังการเจรจาการค้าหลายแบบพหุภาคี รอบอุรุกวัยในปี ค.ศ. 1986-1993 ได้มีข้อกําหนดให้ประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกต้องลด/เลิกมาตรการ อุดหนุนการค้าสินค้าเกษตร ทําให้การออกมาตรการต่างๆ ด้านการช่วยเหลือเกษตรกรต้องอยู่ภายใต้กรอบ ขององค์การการค้าโลก แต่ภายหลังจากที่ประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้ยกระดับเป็นตลาดยุโรปเดียวก็ได้มีการปรับประสานมาตรฐานการผลิตสินค้าเกษตรให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยมาตรฐานที่ออกมาดังกล่าว มีมาตรฐานสูงจนเป็นอุปสรรคต่อประเทศที่ส่งสินค้าเกษตรออกไปยังสหภาพยุโรป 3. นโยบายการเงิน ในปี ค.ศ. 1979 สหภาพยุโรปได้เริ่มนําระบบการเงินยุโรป (European Monetary System) มาใช้โดยมีสาระสําคัญ 3 ประการ คือ 1) ให้สร้างหน่วยเงินตรายุโรป (European Currency Unit: ECU) 2) จัดตั้งกลไกอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Mechanism: ERM) 3) จัดตั้งกลไกการให้สินเชื่อ (Credit Mechanism) เพื่อให้ความช่วยเหลือประเทศที่มี ปัญหาค่าเงินตราลดลงเพื่อรักษาเสถียรภาพของระบบการเงินของยุโรปไว้ ระบบการเงินของยุโรปนับเป็นรากฐานสําคัญของการใช้นโยบายการเงินร่วมกันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1979-1993 จนกระทั่งประชาคมเศรษฐกิจยุโรปได้มีการลงนามในสนธิสัญญามาสทริชท์ (Maastricht Treaty) ใน ค.ศ. 1992 เพื่อจัดตั้งเป็นสหภาพยุโรปหรือ EU และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา โดยสหภาพยุโรปประกอบด้วย 3 สหภาพ คือ 1) สหภาพการเงินยุโรป (European Monetary Union: EMU) มีเป้าหมายเพื่อ บรรลุ การใช้เงินตราสกุลเดียวกัน (Single Currency) และการมีธนาคารกลางร่วมกันในปี ค.ศ. 1999 2) สหภาพเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Union) มีการปรับประสานนโยบาย เศรษฐกิจเข้าด้วยกัน เช่น นโยบายเงินเฟ้อ หนี้สาธารณะ อัตราดอกเบี้ย งบประมาณรายจ่าย ซึ่งถือเป็น รากฐานของการนําไปสู่การใช้เงินตราสกุลเดียวกัน 3) สหภาพการเมืองยุโรป (European Political Union) ปรับประสานนโยบายด้านต่าง ประเทศและความมั่นคงร่วมกัน ในปี ค.ศ. 1999 ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป 11 ประเทศในขณะนั้น (ยกเว้น สหราชอาณาจักร เดนมาร์ก สวีเดน และกรีซ) ได้ตกลงใช้เงินตราสกุลเดียวกัน คือเงินยูโร (Euro) ในธุรกรรมทั่วไป และมี ธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank) ทําหน้าที่รับผิดชอบนโยบายการเงินของสหภาพยุโรป ซึ่ง ณ ปัจจุบัน (ปี ค.ศ. 2020) ในจํานวนสมาชิก 27 ประเทศของสหภาพยุโรปนั้นนั้นมี 19 ประเทศที่อยู่ ในยูโรโซน (Eurozone) คือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินยูโร อีก 8 ประเทศไม่อยู่ในยูโรโซน ได้แก่ เดนมาร์ก สวีเดน บัลแกเรีย โรมาเนีย ฮังการี สาธารณรัฐเช็ก โปแลนด์ และโครเอเชีย ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) มีวิวัฒนาการมาจาก สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East Asian Nations: ASEAN) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1967 เป็นการรวมกลุ่มของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ASEAN ก่อตั้งขึ้นด้วยเหตุผลด้านความมั่นคง ในภูมิภาคที่เผชิญกับภัยคุกคามจากการขยายตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ดังนั้นความร่วมมือของ ASEAN ในระยะแรกจึงมุ่งไปที่การสร้างความคุ้นเคยระหว่างประเทศสมาชิกและการแสวงหาจุดยืนร่วมกันทางด้านการเมืองและความมั่นคง เมื่อสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย ASEAN จึงได้หันมาให้ความ สําคัญกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น วิวัฒนาการความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจของ ASEAN จําแนกได้เป็น 3 ช่วง คือ 1) ความ ตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน (Agreement on ASEAN Preferential Trading Arrangement: ASEAN-PTA) 2) เขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) และ 3) ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) 1. ความตกลงว่าด้วยการให้สิทธิพิเศษทางการค้าของอาเซียน ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้ง ที่ 1 ปี ค.ศ. 1976 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ASEAN ได้มีการลงนามในปฏิญญาสมานฉันท์ แห่งอาเซียน (Declaration of ASEAN Concord) ที่มีสาระครอบคลุมทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และ ด้านอื่นๆ ในส่วนของเศรษฐกิจได้กําหนดแนวทางความร่วมมือไว้อย่างเป็นรูปธรรมเป็นครั้งแรก และผล ของการประชุมดังกล่าวทําให้ ASEAN เริ่มมีความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ 5 ด้าน คือ 1) ด้านการค้า 2) ด้านอุตสาหกรรม 3) ด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ 4) ด้านการเงินและการธนาคาร และ 5) ด้านการ ขนส่งและคมนาคม 1) ความร่วมมือด้านการค้า ได้มีการกําหนดให้มีการลดอัตราภาษีสินค้านําเข้าจากประเทศ สมาชิกจากอัตราภาษีปกติ สําหรับการกําหนดรายการสินค้าที่มีการลดอัตราภาษีจะทั้งแบบการลดภาษีโดยสมัครใจและแบบการเจรจาต่อรองแบบทวิภาคี โดยมีการอนุญาตให้แต่ละประเทศกันรายการสินค้าที่ ไม่ต้องการลดหย่อนภาษีเป็นรายการสินค้าสงวนสิทธิ์ได้ (Exclusion List) ทั้งนี้ ความตกลงการให้สิทธิพิเศษทางการค้าหรือลดภาษีระหว่างกันไม่ได้ทําให้การค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกขยายตัวมากนักเนื่องจากเหตุผลหลายประการ เช่น (1) ลักษณะโครงสร้างเศรษฐกิจมีการพึ่งพาประเทศนอกกลุ่มอยู่มาก (2) โครงสร้างการผลิตและการส่งออกของประเทศสมาชิกมีความคล้ายคลึงกัน (3) สินค้าหลายรายการที่คาดว่าจะช่วยเพิ่มการค้าระหว่างกลุ่มประเทศสมาชิกได้ ถูกนําไปอยู่ในรายการสินค้าสงวนสิทธิ์ (4) อัตราภาษีที่ลดไม่มีนัยพอที่จะทําให้เกิดการขยายการค้าระหว่างกัน เนื่องจาก อัตราภาษียังอยู่ในระดับสูง 2) ความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม มีความพยายามผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่าง ประเทศสมาชิกผ่านหลายๆ โครงการ เช่น (1) โครงการอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Project: AIP) ซึ่ง กําหนดให้มีโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ตั้งอยู่ในแต่ละประเทศอย่างน้อยที่สุดประเทศละ 1 โครงการ เพื่อผลิตสินค้าอุตสาหกรรมที่อยู่ในความต้องการประเทศสมาชิก ซึ่งทุกประเทศสมาชิกจะเป็นเจ้าของโครงการร่วมกัน (2) โครงการแบ่งผลิตทางอุตสาหกรรมอาเซียน (ASEAN Industrial Complemen-tation: AIC) โดยมีวัตถุประสงค์ให้มีการแบ่งผลิตสินค้าทางอุตสาหกรรมแล้วมาซื้อขายแลกเปลี่ยนกันเองโดยประเทศสมาชิกจะให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเท่ากันทุกประเทศ (3) โครงการร่วมลงทุนด้านอุตสาหกรรมของอาเซียน (ASEAN Industrial Joint Ventures: AIJV) ซึ่งหลักการสําคัญคือเป็นโครงการร่วมลงทุนของภาคเอกชนจาก ASEAN อย่างน้อย 2 ประเทศ ให้ประเทศ ที่ไม่ใช่สมาชิก (non-ASEAN) โดยผู้ร่วมลงทุนจะได้รับสิทธิพิเศษในการลดภาษีศุลกากร 3) ความร่วมมือด้านอาหาร เกษตร และป่าไม้ มีโครงการที่สําคัญ คือ ความมั่นคงด้าน อาหารของอาเซียน (ASEAN Food Security Reserve) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในยามขาดแคลนอาหารและในภาวะฉุกเฉิน และโครงการอื่นๆ เช่น โครงการคุ้มครองโรคพืช โครงการ คุ้มครองโรคสัตว์ โครงการร่วมมือด้านประมงและป่าไม้ เป็นต้น 4) ความร่วมมือด้านการเงินและการธนาคาร มีโครงการที่สําคัญ เช่น การส่งเสริมการ ใช้เงินสกุลภูมิภาคสําหรับในการค้าและการลงทุนใน ASEAN 5) ความร่วมมือด้านการขนส่งและสื่อสาร มีโครงการที่สําคัญ เช่น โครงการเชื่อมถนน หลวง โครงการเชื่อมเรือเฟอร์รี่ การสํารวจระบบร่วมกันขนส่งสินค้าของ ASEAN 2. เขตการค้าเสรีอาเซียน จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจโลกใน ช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 เช่น การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและระบบสังคมนิยม และการยกระดับความ ร่วมมือของสหภาพยุโรป ประเทศต่างๆ จึงเห็นความจําเป็นที่จะมีการรวมกลุ่มในภูมิภาคเพื่อใช้เป็นอํานาจ ในการต่อรองการค้าระหว่างกันมากขึ้น โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสหรัฐอเมริกาได้มีการทําความตกลง การค้าเสรีอเมริกาเหนือ (NAFTA) กับแคนาดาและเม็กซิโก ASEAN จึงมีความจําเป็นที่ต้องแสวงหา แนวทางใหม่เพื่อยกระดับความร่วมมือที่มีอยู่เดิมให้เข้มข้นมากยิ่งขึ้น ในปี ค.ศ. 1992 ASEAN มีกรอบความตกลงว่าด้วยการขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจของ อาเซียน (Framework Agreement on Enhancing ASEAN Economic Cooperation) และทําให้มี การก่อตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน (ASEAN Free Trade Area: AFTA) ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 เป็นต้นมา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้การค้าภายใน ASEAN เป็นไปโดยเสรีมากที่สุด เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนต่างชาติ เข้ามาลงทุนใน ASEAN และเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของ ASEAN โดยข้อตกลง AFTA ได้มีการลดข้อจํากัดทางภาษีและไม่ใช่ภาษีดังนี้ 1) การดําเนินมาตรการด้านภาษี ได้มีการกําหนดขอบเขตสินค้าที่นํามาลดภาษี ครอบคลุมสินค้า 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มสินค้าเร่งลดภาษี (Fast Track) ประกอบด้วยกลุ่มสินค้า 15 กลุ่ม ได้แก่ น้ํามันพืช ผลิตภัณฑ์เคมีปุ๋ย ผลิตภัณฑ์ยาง เยื่อกระดาษ เภสัชภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์หนัง สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ และอิเล็กทรอนิกส์ (2) กลุ่มสินค้าลดภาษีปกติ (Normal Track) ประกอบด้วยสินค้าอุตสาหกรรมและ เกษตรแปรรูปนอกเหนือจากสินค้าเร่งลดภาษีและสินค้ายกเว้นอื่นๆ (3) กลุ่มสินค้ายกเว้นทั่วไป (General Exceptional List) เป็นกลุ่มสินค้าที่ประเทศ สมาชิกสงวนสิทธิ์ในการลดภาษีด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงของชาติสังคม ชีวิตและสุขภาพของมนุษย์ สัตว์ และพืช โบราณวัตถุ ศิลปะ และประวัติศาสตร์ (4) กลุ่มสินค้าสงวนสิทธิ์ชั่วคราว (Temporary Exclusion List) เป็นกลุ่มสินค้าที่ อนุญาตให้ประเทศสมาชิกสงวนสิทธิ์การลดภาษีไว้ชั่วคราว (5) กลุ่มสินค้าเกษตรไม่แปรรูป (Unprocessed Agricultural Product) เป็น กลุ่ม สินค้าที่นํามาลดภาษีช้ากว่ากลุ่มสินค้าอุตสาหกรรมและเกษตรแปรรูป 2) การดําเนินมาตรการที่มิใช่ภาษี กําหนดให้ยกเลิกมาตรการการจํากัดปริมาณ (Quan- titative Restriction) ยกเลิกมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร (Non-Tariff Barriers) และยกเลิกการเก็บ ค่าธรรมเนียมพิเศษ (Customs Surcharges) 3. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC) เป็นหนึ่งในสามเสาหลักของประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ที่ประกอบไปด้วยอีกสอง เสาหลักคือประชาคมความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Security Community: ASC)) และประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Social-Cultural Community: ASCC) โดยประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนมีการกําหนดเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะนําไปสู่การลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ําทางสังคม และเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียนได้มีการจัดทําพิมพ์เขียวเพื่อจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Blueprint) โดยมีองค์ประกอบ สําคัญ 4 เรื่อง คือ 1) การเป็นตลาดเดียวและฐานการผลิตร่วมกัน หรือ Single Market and Single Production Base ประกอบด้วย 5 ส่วนประกอบสําคัญคือ (1) มีการเคลื่อนย้ายสินค้าได้โดยเสรี (2) มีการเคลื่อนย้ายบริการได้โดยเสรี (3) มีการเคลื่อนย้ายการลงทุนได้โดยเสรี (4) มีการเคลื่อนย้ายเงินทุนได้โดยเสรี (5) มีการเคลื่อนย้ายแรงงานฝีมือได้โดยเสรี 2) การสร้าง ASEAN ให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง หรือ Highly Competitive Economic Region เป็นเป้าหมายหนึ่งของการรวมกลุ่มเศรษฐกิจของ ASEAN ที่ต้องการ ให้ ASEAN เป็นภูมิภาคที่มีความมั่นคง มั่งคั่ง และมีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง ในการสร้างภูมิภาค ASEAN ให้เป็นภูมิภาคที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูงมีองค์ประกอบสําคัญ 6 ประการ คือ (1) นโยบายการแข่งขัน (2) การคุ้มครองผู้บริโภค (3) สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา (4) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (5) การปรับปรุงระบบภาษี (6) E-Commerce โดยประเทศสมาชิก ASEAN ได้ทําความตกลงที่จะปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศเพื่อ ให้เกิดการแข่งขันที่เป็นธรรม โดยมีเป้าหมายคือการขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในระยะยาว 3) การพัฒนาเศรษฐกิจให้มีความเสมอภาค หรือ Equitable Economic Development เพื่อให้ช่องว่างการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเก่าและประเทศสมาชิกใหม่นั้นลดลงให้มากที่สุด และให้ เศรษฐกิจของ ASEAN เติบโตไปอย่างพร้อมกันมากที่สุด ผ่านความร่วมมือภายใต้โครงการแผนงานกรอบ ความริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน (Initiative for ASEAN Intefration: IAI) โดยโครงการนี้มีกลไก ในการจับคู่ระหว่างสมาชิกเก่าและประเทศสมาชิกใหม่ ในแต่ละสาขาความร่วมมือ เช่น การพัฒนาโครงสร้าง พื้นฐาน การท่องเที่ยว เป็นต้น เพื่อให้สมาชิกเก่าที่ความชํานาญในสาขานั้นๆ ถ่ายทอดและช่วยพัฒนา ประเทศสมาชิกเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของประชากร และเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน 4) การเชื่อมโยง ASEAN เข้ากับเศรษฐกิจโลก หรือ Fully Integrated Region into the Global Economy เนื่องจาก ASEAN มีส่วนเกี่ยวข้องและมีส่วนเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมภายนอก หรือของโลกค่อนข้างมาก ไม่ว่าจะเป็นการพึ่งพาสินค้าจากตลาดโลก และการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ยังต้อง ดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติเพื่อให้ ASEAN สามารถที่จะแข่งขันกับต่างประเทศได้ ASEAN จึงมีความ จําเป็นที่จะต้องมีการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผ่านการปรับและประสานนโยบายเศรษฐกิจสร้างเครือข่ายการผลิต และจําหน่ายรวมถึงการตกลงทําเขตการค้าเสรีกับประเทศนอกกลุ่ม ASEAN กิจกรรม 4.2.3 1. แรงจูงใจในการรวมตัวของสหภาพยุโรปคืออะไร 2. แรงจูงใจในการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนคืออะไร แนวตอบกิจกรรม 4.2.3 1. การรวมกลุ่มของสหภาพยุโรปเป็นความพยายามที่จะแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เคยเกิดขึ้น บ่อยครั้งในอดีต ทั้งด้านการเมืองและการแก่งแย่งทรัพยากรทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการแก่งแย่งทรัพยากร ถ่านหินและเหล็กที่เป็นวัตถุดิบที่เป็นยุทธปัจจัยสําคัญ ซึ่งความขัดแย้งดังกล่าวเป็นสาเหตุสําคัญที่นําไปสู่ การเกิดสงครามในหลายๆ ครั้ง โดยการรวมกลุ่มจะช่วยเพิ่มความร่วมมือระหว่างประเทศ ลดความขัดแย้ง และช่วยให้ภาวะสงครามไม่เกิดขึ้นดังเช่นในอดีต 2. ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) มีวิวัฒนาการมาจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออก- เฉียงใต้ (ASEAN) ซึ่งก่อตั้งขึ้นด้วยเหตุผลด้านความมั่นคงในภูมิภาคที่เผชิญกับภัยคุกคามจากการขยาย ตัวของลัทธิคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น และเมื่อสถานการณ์การเมืองเริ่มคลี่คลาย ASEAN จึงได้หันมาให้ ความสําคัญกับความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจมากขึ้น โดย ASEAN มีวิวัฒนาการมาอย่างต่อเนื่อง จน กระทั่งเป็นประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ซึ่งมี AEC เป็น 1 ใน 3 ของเสาหลัก โดย AEC มีการกําหนดเป้าหมายให้ประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีความมั่นคง มั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้ โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจเพื่อที่จะนําไปสู่การลดปัญหา ความยากจนและความเหลื่อมล้ําทางสังคม